รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าของเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปลูกชะอม ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Factors associated with fatigue of Cha-Om farmers Wang Taku Sub-district, Mueang District, Nakhon Pathom Province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.นันทิดา โหวดมงคล ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Nantida Vodmongkol ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
            การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนาแบบภาคตัดขวาง  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยลักษณะทั่วไปส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการทำงาน ปัจจัยด้านสุขภาพ และเพื่อศึกษาความเมื่อยล้าของเกษตรกรประกอบอาชีพปลูกชะอมในพื้นที่ ตำบลวังตะกู อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม   และใช้วิธีหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงคิดเป็นร้อยละ 65.9 อายุเฉลี่ย 59.17 ปี มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 40.5 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 28.06 ปี ระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 4.43 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนของร่างกายที่มีระดับความปวดเมื่อยมีอาการปวดจนต้องใช้ยามากที่สุดบริเวณหัวเข่า รองลงมาไหล่ หลังส่วนบน และหลังส่วนล่าง ร้อยละ 15.1, 9.5, 8.7 และ 8.7 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยลักษณะทั่วไปส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ และกิจวัตรประจำวันมีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าบริเวณสะโพกหรือต้นขา  และหัวเข่า ยังพบอีกว่าปัจจัยด้านการทำงาน ได้แก่ ประสบการณ์ในการทำงาน อายุของต้นชะอม พื้นที่ในการปลูกชะอม ความถี่ในการตัดชะอม ระยะเวลาในการทำงาน การหยุดพักงาน ระยะเวลาในการหยุดพักการตัดชะอมในแต่ละครั้ง การตัดชะอม และการพักชะอมมีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าบริเวณคอ หลังส่วนบน แขนส่วนบน แขนส่วนล่าง สะโพกหรือต้นขา หัวเข่า น่อง และเท้า ส่วนปัจจัยด้านสุขภาพ  ได้แก่ โรคประจำตัว พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และการดื่มสุรามีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าบริเวณไหล่ หลังส่วนบน สะโพกหรือต้นขา น่องและเท้า มีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
 คำสำคัญภาษาไทย ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ ,ความเมื่อยล้า ,เกษตรกรผู้ประกอบอาชีพปลูกชะอม
 Abstract
           This study was cross-sectional descriptive study. The objectives of this research were to study the personal generalization factors, work factor, health factor and to study the fatigue among cha-om farmers in Wang TaKu sub-district, Mueang District, Nakhon Pathom Province in 174 people collected information by using questionnaires and statistics using the Pearson correlation coefficient method. The results of the study showed majority of the sample were female, accounting for 65.9% average age 59.17 years. Have a normal body mass index of 40.5%. Most of them had an average of 28.06 years of work experience. Average working length is 4.43 hours per day. The part of the body that has a degree of aching pain that requires the most medication is the knee, followed by the shoulder, upper back and lower back 15.1%, 9.5%, 8.7% and 8.7% respectively. The personal generalization factors such as age and daily routine correlated with fatigue area hips or thighs and knees, also found that the working factors such as work experience, age of cha-om, cha-om plantation area, frequency of cha-om cutting, working time, break, the length of time it takes to stop at each cutting, cha-om cutting, cha-om stay correlated with fatigue area neck, upper back, upper arms, lower arms, hips or thighs, knees, calves, and feet. Health factors that affect fatigue area shoulders, upper back, hips or thighs, calves, and feet such as congenital disease, smoking behavior and drinking was significantly associated with fatigue in the shoulders, upper back, hips or thighs, calves and feet was related to education significantly values (p=0.05)
 Keyword relationship factor, fatigue, occupation farmers planted Cha-om
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564