รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย สังคมพืชป่าชายเลนหาดทุ่งคา อำภอแกลง จังหวัดระยอง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Mangrove Plants Community at Thung Kha Beach, Klaeng district, Rayong province
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ดร.เบญจวรรณ ชิวปรีชา ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Benchawon Chiwapreecha ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาสังคมพืชป่าชายเลน พื้นที่หาดทุ่งคา ตำบลเนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ดำเนินการระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2562 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2564 มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความหลากชนิด และองค์ประกอบสังคมพืชป่าชายเลน โดยวิธีการวางแปลงตัวอย่างชั่วคราว ขนาด 20 X 50 เมตร จำนวน 4 แปลง ขนานไปตามแนวชายหาด พบพรรณไม้จำนวน 15 วงศ์ 20 สกุล 23 ชนิด วงศ์ที่พบสมาชิกมากที่สุด ได้แก่ วงศ์โกงกาง (Rhizophoraceae) โดยพบถึง 4 ชนิด ความหนาแน่นของไม้ต้นมีค่า 108.87 ต้น/ไร่ ค่าดัชนีความหลากหลายของแปลง D มีค่าสูงที่สุด (1.93) รองลงมาคือแปลง A (1.686) แปลง C (1.684) และแปลง B (1.428) ตามลำดับ ชนิดพรรณไม้เด่นที่สุดคือ สนทะเล (Casuarina equisetifolia L.) มีค่าดัชนีความสำคัญ 62.97 ในขณะที่หูกวาง (Terminalia catappa L.) มีค่าดัชนีความสำคัญต่ำที่สุด 2.53 ดัชนีความคล้ายคลึงตลอดแนวชายหาด มีค่า 55.56 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าป่าชายเลนหาดทุ่งคามีสถานะค่อนข้างสมบูรณ์ โดยที่แสมขาว (Avicennia alba Blume) ลำแพนทะเล (Sonneratia alba Sm.) และโกงกาง (Rhizophora) เหมาะแก่การปลูกเสริมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง 
 คำสำคัญภาษาไทย ความหลากหลาบชนิด,ค่าดัชนีความสำคัญ,การกัดเซาะชายฝั่ง
 Abstract
Study of mangrove plants at Thung Kha Beach, Rayong province was made during November 2019 to February 2021. The objectives were to study species diversity and plants composition in mangrove forest. The four temporary sample plots, 20 X 50 m. were determined along the coastal.Twenty-three species belonging to 15 families and 20 genera were found. The most representative family in numbers of species found was Rhizophoraceae with 4 species. Plants density were 108.87 individual/Rai which diversity index in plot D had 1.93, plot A had 1.686, plot C had 1.684 and plot B had 1.428 respectively. Casuarina equisetifolia L. was a dominant species which the Important Value Index was 62.97. While, Terminalia catappa L. had the lowest diversity index was 2.53. A proportion of similarity index was 55.56 %. The results indicated that Thung Kha Beach mangrove had a quite perfect mangrove forest. In addition, Avicennia alba Blume, Sonneratia alba Sm. and Rhizophora were suitable planting for restoration forest and prevented coastal erosion.
 Keyword species diversity,Importance Value Index ,coastal erosion
 กลุ่มของบทความ ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564