รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การวิเคราะห์แนวคิดและทฤษฎีเพื่อการปรับตัวของการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนภายหลังสถานการณ์โควิด 19
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) An analysis of concepts and theories for sustainable community-based tourism resilience after Covid -19
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.พิมพ์ชนก มูลมิตร์ , ผศ.ดร.เกิดศิริ เจริญวิศาล, ผศ.ดร.มนัสสินี บุญมีศรีสง่า,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Pimchanok Mulmit , Kerdsiri Jaroenwisan, Manassinee Boonmeesrisanga,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การท่องเที่ยวโดยชุมชน มีความสำคัญต่อการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวของประเทศ ภายหลังสถานการณ์โควิด 19 เนื่องจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นหนึ่งในรูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างมูลค่าเศรษฐกิจที่นำไปสู่โอกาสการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง ทั้งนี้ การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งถือเป็นนโยบายหนึ่งที่มีความสำคัญทั้งในเชิงการสร้างขีดความสามารถให้ชุมชนและการสร้างโอกาสด้านท่องเที่ยว โดยชุมชนสามารถเรียนรู้จากวิกฤติการณ์โควิด 19 และสามารถสามารถสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคต ชุมชนควรมีความยืดหยุ่นหลังภาวะวิกฤติ โดยมีแนวทางหลัก คือ 1) Cope (พร้อมรับ) ความสามารถในการต้านทาน เยียวยา และฟื้นฟูสภาพจากวิกฤต 2) Adapt (ปรับตัว) ความสามารถในการปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น และ 3) Transform (เปลี่ยนแปลงเพื่อพร้อมเติบโต) ที่ยึดหลักการความยืดหยุ่นซึ่งเป็นข้อค้นพบ 7 ด้าน เพื่อนำไปประยุกต์และบูรณาการกับองค์ประกอบของการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่ ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรม ด้านการจัดการ ด้านชุมชน และด้านการเรียนรู้ ที่อยู่ภายใต้ขีดความสามารถในการรองรับด้านการท่องเที่ยว และมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย
 
 คำสำคัญภาษาไทย การปรับตัวเชิงรุก (Resilience) การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน (Sustainable Community based Tourism) สถานการณ์โควิด 19 (Covid 19)
 Abstract
Community – based tourism is important to the restoration of the tourism sector in the country after the situation of COVID-19. According to community-based tourism is one form of the sustainable tourism that plays a crucial role in enhancing economic value leading to real income distribution opportunities to the community. In this regard, community – based tourism promotion and development is a vital policy in building capacity for communities and creating tourism opportunities. Therefore, the community can learn from the COVID-19 crisis and be able to build confidence and improve sustainable tourism management in the future, communities should be resilient after a crisis with the main guidelines; 1) Cope 2) Adapt and 3) Transform based on the 7-resilience principle findings to apply and integrate with the 4 elements of community-based tourism; natural and culture resources, management, community and learning under tourism carrying capacity and SHA
 Keyword Resilience, Sustainable Community- based Tourism, Covid -19
 กลุ่มของบทความ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564