รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ภาวะโรคระบาด Covid-19 กับความอ้างว้างของ LGBT+
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Covid-19 Pandemic and Loneliness in LGBT+
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.ชิราวุธ ปุญณวิช , นายดิฐพงศ์ ประเสริฐไพฑูรย์, อ.ประพันธ์ ขันติธีระกุล, อ.ดร.อุกฤษฏ์ อำไพพันธุ์,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Chirawut Punnawit , Ditthapong Prasertpitoon, Praphan Khuntiteerakul, Ukit Amphaiphan,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อ
           
            ในภาวะโรคระบาด Covid-19 ที่ส่งผลกระทบไปทั่วทั้งโลก ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องหยุดงาน กักตัวอยู่ที่บ้าน หรือบางบริษัทที่หยุดการทำงานให้พนักงานสามารถเดินทางกลับบ้านไปทำงานได้ ในประเทศไทยที่สถาบันครอบครัวมีความเป็นปึกแผ่น และอยู่กันอย่างอบอุ่น แต่ไม่ใช่สำหรับกลุ่ม LGBT+ มีครอบครัวอีกมากมายที่ไม่ยอมรับ และปิดกันความหลากหลายทางเพศนี้ บทความนี้จึงพยายามวิพากษ์ข้อถกเถียงในประเด็นครอบครัวที่เป็น Homophobia ส่งผลกระทบอย่างไรต่อกลุ่ม LGBT+ ที่ต้องกลับบ้านในช่วงการระบาดของโรค Covid-19 โดยงานวิจัยชิ้นนี้ใช้การศึกษาเชิงคุณภาพในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลกลุ่ม LGBT+ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโรคระบาดทำให้ต้องกลับไปใช้ชีวิตภายในบ้านที่ไม่ยอมรับลูกที่เป็นกลุ่มคนหลากหลายทางเพศได้ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง และนำมาถ่ายทอดเป็นบทความเชิงเล่าเรื่อง ที่ยึดอารมณ์ความรู้สึกที่ได้รับผลกระทบจากกลุ่มตัวอย่าง โดยบทความจะชี้ให้เห็นปัญหาของความเชื่อที่ฝังรากลึกลงไปในค่านิยมของครอบครัว ให้ปฏิเสธและเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มคนที่เป็น LGBT หรือการถูกผลักออกให้เป็นอื่นในครอบครัวเดียวกัน การวิพากษ์ระบอบรักต่างเพศที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อกลุ่ม LGBT ให้รู้สึกโดดเดี่ยว และอ้างว้าง ผลการศึกษาพบกลุ่มตัวอย่างต้องถูกกดดันจากครอบครัวในช่วงการระบาด  Covid-19 เมื่อต้องกลับมาพบกลับครอบครัวหรือญาติ
 
คำสำคัญ: Covid-19, LGBT, หลากหลายทางเพศ, ความอ้างว้าง
 คำสำคัญภาษาไทย Covid-19, LGBT, หลากหลายทางเพศ, ความอ้างว้าง
 Abstract
Abstract
 
            In the epidemic of Covid-19 which has affected to people all over the world. Most people must stop working and self-quarantine at home, some companies allow staffs to work from their residences. In Thailand, a country where the most family units live warmly and stay solidarity but not for LGBT+. There are many families are not accepting and block off the Gender Diversity. This article criticizes the point of the homophobic family how this affects to the group of LGBT+ who have to travel back home during the epidemic of Covid-19. This research uses the qualitative studies of data collected from the group of LGBT+ who got affected by the epidemic and have to live with their homophobic families which never accept gender diversity. The research uses an in-depth interview of the sample group and presents as narrative article which adheres to their emotions and feelings. This article mainly points out to the problem of faith which has been deep-rooted in family value to ban and discriminate the group of LGBT+ or banish them to become a stranger of their families and criticize the pattern of heterosexuals. This severely affects to LGBT+ and makes them feel deeply alone. The study found that subjects were subjected to family pressure during the Covid-19 outbreak when they had to reunite with family or relatives.
 
Keywords: Covid-19, LGBT, Gender Diversity, Loneliness
 Keyword Covid-19, LGBT, Gender Diversity, Loneliness
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564