รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การออกแบบและพัฒนาเครื่องนึ่งลูกประคบแบบพกพา |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Design and Development of the Portable Herbal Compress Ball Steaming Machine. |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.อภิชาต โชติชื่น , รศ.วนิดา โนรา, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Apichart Chotchuen , Wanida Nora, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องนึ่งลูกประคบสมุนไพรแบบพกพา ให้มีขนาดเล็ก สามารถควบคุมอุณหภูมิ และระยะเวลาการทำงานได้ โดยออกแบบเป็นระบบกึ่งเปิดกึ่งปิด ให้มีช่องว่างสำหรับใส่ลูกประคบตรงกลางเพื่อให้ไอน้ำร้อนสัมผัสกับตัวลูกประคบโดยตรง ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาอุณหภูมิของน้ำ ปริมาณของน้ำ และระยะเวลาในการนึ่ง กรณีที่ไม่มีภาระงาน และมีภาระงานคือลูกประคบขนาด 200 กรัม ใช้ปริมาณน้ำ 500 mL และ 700 mL อุณหภูมิเริ่มต้นของน้ำตั้งแต่ 10 o C ถึง 80 o C บันทึกเวลาถึงจุดเดือด พบว่าที่ปริมาณน้ำ 500 mL ไม่มีภาระงาน ระยะเวลาถึงจุดเดือดคือ 6 นาที 45 วินาที ถึง 1 นาที 33 วินาที เมื่อมีภาระงาน ระยะเวลาถึงจุดเดือด 7 นาที ถึง 1 นาที 57 วินาที ที่ปริมาณน้ำ 700 mL ไม่มีภาระงาน ระยะเวลาถึงจุดเดือด คือ 9 นาที 52 วินาที ถึง 2 นาที 18 วินาที และเมื่อมีภาระงานเป็น 8 นาที 57 วินาที และ 2 นาที 1 วินาที แสดงให้เห็นว่าเมื่อใช้น้ำ 500 mL ทั้งกรณีไม่มีภาระงาน และมีภาระงาน ระยะเวลาถึงจุดเดือดของน้ำไม่แตกต่างกัน ขึ้นกับอุณหภูมิเริ่มต้นของน้ำ แต่เมื่อใช้น้ำ 700 mL พบว่าการเพิ่มภาระงานทำให้ระยะเวลาถึงจุดเดือดลดลง เครื่องนึ่งลูกประคบสมุนไพรแบบพกพาที่พัฒนาขึ้นนี้จึงมีความเหมาะสมสำหรับการใช้นึ่งโดยไม่ปิดฝาภาชนะในกรณีใช้น้ำไม่เกิน 500 mL
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
จุดเดือด, เครื่องนึ่ง, ลูกประคบ |
Abstract |
This research aims to design and develop the portable herbal compress steaming machine to be small size, portable, and can control the temperature and working time. It is designed as a semi-open system by the middle space for inserting the herbal compress, that contacts with the hot stream, directly. The temperature (10 c to 80 c) and amount of water (500 mL and 700 mL), and steaming time period were studied as 2 cases: no workload, and the workload was a 200-gram herbal compress. It was found that at 500 mL of water without workload, the time to the boiling point was 6 min 45 sec to 1 min 33 sec. When there is workload, the time to the boiling point was 7 min to 1 min 57 sec. At 700 mL of water without workload, the time to the boiling point is 9 min 52 sec to 2 min 18 sec. And when added workload, time was 8 min 57 sec to 2 min 1 sec. there was demonstrated that when using 500 mL of water with and without workload, the time to reach the boiling point was not different, that depends on the initial temperature of the water. However, when using 700 ml of water, it was found that adding the workload decreased the time to boiling point. The developed portable herbal compress streaming machine is suitable for steaming without the lid of the container when using a limit to 500 mL of water.
|
Keyword |
Boiling point, Steaming machine, Herbal compress ball |
กลุ่มของบทความ |
วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|