รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนารูปแบบธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อสังคม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านยางพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Specific Development of Social Enterprise for Homestay Management : A Case Study of Yangpatthana Village, Kampangsan District, Nakhon Pathom Province.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวธัญกมล คุ้มเสาร์ , นางสาวนรีรักษ์ แก้วฉวี, นางสาวอภัสรา ปัญจกะบุตร, นางสาวดวงนภา จุคำ, อ.ดร.ประพนธ์ เล็กสุมา,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Tanyakamon Khumsao , Nareerak Keawchawee, Apassara Panjakaboot, Duangnapha Jukam, Prapon Leksuma,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ในการศึกษาเรื่องการพัฒนารูปแบบธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อสังคม กรณีศึกษา ชุมชนบ้านยางพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่ของชุมชนบ้านยางพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบการจัดทำที่พักโฮมสเตย์ด้วยระบบธุรกิจเพื่อสังคม 3. เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาชุมชนบ้านยางพัฒนาสู่ธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อสังคม เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อสังคมประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการร้านค้า และกลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า
โอทอปนวัตวิถี จำนวน 22 คนและใช้เทคนิคเดลฟายในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจำนวน 3 รอบ กับผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ด้านการจัดการท่องเที่ยว ด้านการท่องเที่ยวชุมชน  ด้านธุรกิจเพื่อสังคม ด้านที่พักโฮมสเตย์และด้านนักท่องเที่ยว จำนวน 11 คน โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และพิสัยระหว่างควอไทล์ในการวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นนำเสนอผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ผลการวิจัยพบว่า
 
1. อดีตบ้านยางพัฒนามีต้นยางนาขึ้นเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงช่วยกันตั้งชื่อว่า บ้านยาง และได้มีการเปลี่ยนชื่อในภายหลังว่า บ้านยางพัฒนา คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรที่เป็นการทำตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งมีเอกลักษณ์โดดเด่นคือชาติพันธุ์ไทยทรงดำที่ตอนนี้ภายในชุมชนได้พยายามรื้อฟื้นวัฒนธรรมขึ้นมาเพื่อให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาทั้งการประกอบพิธีกรรม การทอผ้าและมีการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ รวมถึงเป็นชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี 1 ใน 21 แห่งของจังหวัดนครปฐม 
 
2. จาการศึกษาเรื่องหลักการสร้างที่พักโฮมสเตย์และองค์ประกอบธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อสังคม พบว่าองค์ประกอบของธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อสังคม ประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านที่ 1 ด้านที่พัก องค์ประกอบด้านที่ 2 ด้านกิจกรรม องค์ประกอบด้านที่ 3 ด้านการบริหารจัดการ  และ องค์ประกอบด้านที่ 4 ด้านการพัฒนาสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
 
3. จากการสังเคราะห์แนวทางการพัฒนาชุมชนบ้านยางพัฒนาสู่ธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อสังคมแบ่งออกเป็น 4 แนวทาง คือ 1. การพัฒนาด้านที่พัก 2. การพัฒนาด้านกิจกรรม 3. การพัฒนาด้านการบริหารจัดการ และ 4. การพัฒนาด้านการพัฒนาชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม
 คำสำคัญภาษาไทย การพัฒนารูปแบบ / โฮมสเตย์ / ธุรกิจเพื่อสังคม
 Abstract
This research aimed to: 1.study the context of Ban Yang Pattana community, Kamphaeng Saen District, Nakhon Pathom Province; 2.study the components of homestay with using social enterprise systems and 3.to create developmental guidelines of Ban Yang community into a social enterprise of homestay management. It was a qualitative research using in-depth interviews with 22 key informants involved in the social homestay business, consisting of a leader group, entrepreneur groups and OTOP product groups. Delphi technique was used to collect data with 11 experts in various related fields, the technique was used with the experts 3 times.  The groups of the experts, including tourism management field, Community - based Tourism field, Social Entreprise, homestay management field and tourist field. Data was analyzed by means, median and quartile. According to the objectives, the research found that
 
1. There were a lot of Dipterocarpus trees in Ban Yang Pattana community in the previous time. The villagers named, Ban Yang. Later, it was named to Ban Yang Pattana. Most of villagers were farmers who worked based on Sufficiency economy. It was also a unique Thai ethnic group, Thai Song Dam. It was an attempt to revive the culture in order to allow future generations to study the ritual, weaving and establishing a museum. Moreover, it would be one of the tourism community in 21 OTOP innovations in Nakhon Pathom.
 
2. According to the study of a principle of homestay establishment and components of social enterprise of homestay management, consisted of :1. Accommodation, 2. Activities, 3. Management and 4. the development of Social, community and environment.
 
3. Then analyzed the guidelines for Ban Yang community development into a social enterprise of homestay management divided into 4 approaches which were 1. accommodation development 2. activity development 3. management development and 4. community, social and environmental development
 Keyword The Specific Development / Homestay / Social Enterprise
 กลุ่มของบทความ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564