รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Perception and Preventive behaviors on the coronavirus disease-2019(COVID-19) among village health volunteers |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
นายจักรกฤษ พลตรี , อ.แสงเดือน กันทะขู้, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
่jakkrit pontree , Saengduan Kunthakhu, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัย เชิงสำรวจ ( survey research ) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการรับรู้พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงเท่ากับ 0.73 ด้านการรับรู้ประโยชน์เท่ากับ 0.96 การการรับรู้อุปสรรคเท่ากับ 0.88 และพฤติกรรมการป้องกันตนเองเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันจากการติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 ( =70.82, SD = 15.16) อยู่ในระดับปานกลาง แต่มีการรับรู้อุปสรรค ( =13.17, SD = 6.22) และมีการรับรู้โอกาส เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ( =15.89, SD = 5.33) อยู่ในระดับน้อย และมีการรับรู้ประโยชน์ ( =26.91, SD = 12.34) อยู่ในระดับน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่า การรับรู้พฤติกรรมการป้องกันตนเองเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการรับรู้โอกาสเสี่ยง (r = 0.7 8, p-value <0.01) การรับรู้ประโยชน์ (r = 0.89, p-value <0.01) และการรับรู้อุปสรรค (r = 0.78, p-value <0.01) อยู่ในระดับสูง ดังนั้นควรมีการให้ความรู้และการฝึกทักษะในการป้องกันโรคติดเชื้อในชุมชนแก่ อสส/อสม อย่างต่อเนื่อง
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
พฤติกรรมการป้องกันตนเอง, การรับรู้โอกาสเสี่ยง, การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้อุปสรรค |
Abstract |
This survey study was aimed to describe the perception and preventative behaviors for the coronavirus disease-19 (COVID-19). The sample size was 35 village health volunteers. Data were collected through questionnaire which has shown Cronbach alpha coefficient of perceived susceptibility 0.73, Perceived benefits 0.96, Perceived barriers 0.88, and Preventive behaviors 0.89. Data were analyzed using Pearson’s correlation coefficient.
The study has shown that preventive behaviors ( = 70.82.17, SD = 15.16) of the COVID-19 prevention among village health volunteers were moderate level. However, they had low level of perceived barriers ( =13.17, SD = 6.22) and understanding concerning perceived susceptibility ( =15.89, SD = 5.33). Furthermore, they had lowest level of perceived benefits ( =26.91, SD = 12.34), moreover, perception of preventive behaviors was high positively correlated with perceived susceptibility (r = 0.78, p-value <0.01) , Perceived benefits (r = 0.890, p-value <0.01), and Perceived barriers (r= 0.78, p-value <0.01) among village health volunteers. Therefore, the findings suggest organizations should provide continuing information and training to village health volunteers.
|
Keyword |
perception of preventive behaviors, perceived susceptibility, perceived benefits, perceived barriers, preventive behaviors |
กลุ่มของบทความ |
การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค New Normal |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|