รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of Computer Science Department’s Database Management System, Kanchanaburi Rajabhat University.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวญาณี วงศ์ตันฮวด, ผศ.ธีรเดช เทวาภินันท์, ผศ.ดร.นิลุบล ทองชัย ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Yanee Wongtunhuad, Teeradet Tevapinun, Nilubon Tongchai ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล แก้ไขปัญหาการจัดการข้อมูลที่มีความซ้ำซ้อน และการสูญหายของข้อมูลสารสนเทศ ของสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลนี้ใช้ซีชาร์ป (C#) เป็นภาษาหลักในการพัฒนา ใช้เอเอสพีดอตเน็ต (ASP.NET) เป็นเฟรมเวิร์คในรูปแบบการเขียนเอ็มวีซี (MVC) และใช้ไมโครซอฟท์เอสคิวแอลเซิร์ฟเวอร์ (Microsoft SQL Server) เป็นตัวจัดการฐานข้อมูล การพัฒนาระบบยึดหลักการพัฒนาระบบตามหลักทฤษฎีของวงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) เบื้องต้นทดสอบกับผู้ใช้งาน 3 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลระบบ 1 คน นักศึกษา 15 คน และผู้ใช้งานทั่วไป 4 คน ผลการดำเนินงานพบว่า ระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับผลการประเมิน สูงที่สุดคือด้านการออกแบบระบบ (= 4.15, S.D. = 0.79) รองลงมา คือด้านประสิทธิภาพของระบบ (= 4.13, S.D. = 0.72) และด้านการใช้งานระบบ ( = 4.09, S.D. = 0.66) ตามลำดับ โดยระบบสามารถทำงานได้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้และสามารถนำไปใช้งานได้จริง
 คำสำคัญภาษาไทย พัฒนาซอฟต์แวร์ ,เอเอสพีดอตเน็ต ,เอ็มวีซี ,วงจรการพัฒนาระบบ
 Abstract
The purpose of this project was to develop a database management system of the department of Computer Science, Kanchanaburi Rajabhat University. In order to solve the problem of redundant data management and the loss of information.  C# was used as the main language for development, ASP.NET was used as a framework for MVC writing and Microsoft SQL Server was used for database management. The System was developed respectively to the theory of System Development Life Cycle (SDLC), evaluated and initially tested with 3 groups of users which are 1 system administrator, 4 general users, and 15 students from the department of Computer Science, Kanchanaburi Rajabhat University. Results showed that participants satisfied in ‘good’ level to all 3 aspects.  The aspect of system design held the highest average score (= 4.15, SD = 0.79), followed by the system efficiency ( = 4.13, SD = 0.72) and the system usage ( = 4.09, SD = 0.66) respectively. The system can work functionally according to the needs of users.
 Keyword Software development,ASP.NET,MVC,System Development Life Cycle (SDLC).
 กลุ่มของบทความ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564