รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรงของโรค ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Perception of risk , Severity of the disease On prevention behavior of COVID-19 of higher education students in Private University in Bangkok
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) นางสาวอรอนงค์ โยธาภักดี , นางสาวดวงฤทัย ชารีแสน, นางสาวภารดี ชาวนรินทร์,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Onanong Yothaphakdee , Duangruethai chareesaen, Paradee chaonarin,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรงของโรค ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  ศึกษาความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเสี่ยง ความรุนแรงของโรค ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับอุดมศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน  ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19  การรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อไวรัสโคโรนา-19 ต่อพฤติกรรมในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสังกัดเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือตามวิธีอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า อายุมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในระดับน้อย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 เพศ คณะที่ศึกษา และศาสนาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 การรับรู้ความเสี่ยงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และการรับรู้ความรุนแรงมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ดังนั้นควรมีการส่งเสริมให้มีพฤติกรรมการป้องกันที่มากขึ้นและสร้างการรับรู้ให้มากขึ้น
 คำสำคัญภาษาไทย การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้ความเสี่ยง พฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
 Abstract
The purpose of this survey research was to study perception of risk, severity of disease and prevention behavior of COVID-19. Study the relationship of risk perception, severity of the disease towards the prevention behavior of COVID-19 in higher education students, private University in Bangkok. The stratified sample comprised of 400 higher education Students, private Universities, Bangkok. The research instruments consisted of 4 parts : personal information questionnaire, perceptions of coronavirus infection risk, perception of coronavirus infection and prevention behavior of coronavirus disease of private university students in Bangkok. Reliability was analyzed by using the Cronbach Alpha coefficient = 0.86. The data was analyzed by means, percentage, standard deviation, and Pearson correlation.
            The results founded that age was significantly associated with the prevention behaviors of COVID-2019 at 0.01. gender, faculties and religion were not statistically related with prevention behaviors of COVID-2019. Risk perception was statistically related to coronavirus 2019 infection prevention behavior. at 0.01  Perception of severity was significantly associated with the prevention behavior of COVID-19 at 0.05. Therefore, more defensive behaviors should be encouraged and increased awareness.
 Keyword Perception of risk , Severity of the disease, prevention behavior of COVID-19
 กลุ่มของบทความ การวิจัยเชิงสุขภาพ สร้างดุลยภาพชีวิตในยุค New Normal
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564