รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลของช่วงอายุการตัดต่อการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าหวานในการตัดครั้งที่ 2 ที่ปลูกในชุดดินเพชรบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Effects of Cutting Intervals on Growth, Yield and Chemical Composition of Second Cutting Sweet Grass (Pennisetum purpureum cv. Mahasarakham) in Phetchaburi Soil Series |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
อ.ดร.วนิดา มากศิริ , นางสาวชนิดาภา ไพศาลธรรม, นางสาวเบญจรัตน์ พลับทอง, นางสาวประพิมพ์ จันทรากุล, นางสาวเจนจินา แต้มเรืองอิทธิ์, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Wanida Maksiri , Chanidapa Paisantham, Benjarat Plobthong, Prapim Jantrakul, Janjina Tamraungit, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษาลักษณะการเจริญเติบโต ผลผลิต และองค์ประกอบทางเคมีของหญ้าหวานในรอบการตัดครั้งที่ 2 ที่อายุการตัดต่างกัน ซึ่งปลูกในชุดดินเพชรบุรี วางแผนการทดลองแบบแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (Randomized Complete Block Design, RCBD) ประกอบไปด้วยอายุการตัด 3 อายุ ได้แก่ 45, 60 และ 90 วัน ทำ 3 ซ้ำ ผลการทดลองพบว่าการเพิ่มอายุการตัดหญ้าทำให้น้ำหนักกอ น้ำหนักทั้งต้น ความกว้างใบ ความยาวใบ ความสูงของลำต้น ความสูงทั้งต้น ความยาวระหว่างข้อปล้อง จำนวนใบต่อต้น และจำนวนข้อปล้องต่อต้น เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนผลผลิตน้ำหนักสดจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นเท่ากับ 3.33, 5.78 และ 6.81 ตันต่อไร่ (P<0.05) เมื่อตัดหญ้าที่อายุ 45, 60 และ 90 วัน ตามลำดับ ค่าเฉลี่ยองค์ประกอบทางเคมีของโปรตีนมีค่าเฉลี่ย 12.80, 9.96 และ 8.55 เปอร์เซ็นต์ ตามอายุการตัดที่ 45, 60 และ 90 วัน ซึ่งมีค่าลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ส่วนค่าเยื่อใย NDF และ ADF จะมีค่าเพิ่มสูงขึ้นเมื่ออายุการตัดหญ้าเพิ่มขึ้น จากการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่าการตัดหญ้าหวานในรอบที่ 2 ช่วงอายุการตัดหญ้าเพิ่มขึ้นจะมีผลต่อการเพิ่มการแตกกอแขนงที่ทำให้น้ำหนักกอ และผลผลิตน้ำหนักสดเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณ และคุณภาพที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการเลี้ยงสัตว์ควรตัดหญ้าหวานที่อายุ 60-90 วัน จะมีระดับโปรตีนที่เหมาะกับการทำงานของจุลินทรีย์ในกระเพาะรูเมน และมีเยื่อใย NDF และ ADF อยู่ในระดับที่สัตว์สามารถย่อยได้ดี
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
หญ้าหวาน การเจริญเติบโต ผลผลิต ชุดดินเพชรบุรี |
Abstract |
The study was to investigat of varies cutting intervals of second cutting sweet grass in Phetchaburi soil series on growth characteristics, yields and chemical composition. The experiment was designed as randomized complete block design with 3 replications. The treatments were 3 cutting intervals as 45, 60 and 90 days with 3 replication. The result showed that increasing of age cutting grass effected to the clump weight, stalk weight, leaf width, leaf length, stalk height, total stalk height, internode length, leaf number and internode number were increased significantly (P<0.05). The fresh yield was significantly increased (P<0.05) of 3.33, 5.78 and 6.81 ton/rai with increase cutting intervals at 45, 60 and 90 days, respectively. The average chemical composition of the crude protein was 12.80, 9.96 and 8.55 percent significantly decreased (P<0.05) according to the cutting intervals at 45, 60 and 90 days. The fiber values of NDF and ADF were increased with increase cutting intervals grass. The present study, it can be concluded that second cutting sweet grass with increasing of age cutting grass has the effect of increasing the buding regrowth, clump weight and fresh yield. Thus, the optimal cutting interval was at the range of 60-90 days with suitable yield and quality for use in animal husbandry. Therefore, the suitable of protein content, NDF and ADF level for used of microbial in rumen and good digest.
|
Keyword |
Sweet Grass, Growth, Yield, Phetchaburi Soil Series |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|