รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์

แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The study health Literacy And Food Consumption Behavior of school students grade 4-6. Nong Sano Sub-district, Sam Ngam District, Phichit Province.
 ชื่อผู้เขียนภาษาไทย (Authors TH) อ.อภิรักษ์ แสนใจ ,
 ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN) Aphilak Saengai ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ตำบลหนองโสน อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 160 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 71.3 (=115.34, S.D.=25.478) และนักเรียนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 67.5 (=201.88, S.D.=26.405) ผลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ และส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนต่อไป
 คำสำคัญภาษาไทย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
 Abstract
This study is a descriptive research. With the objective To study health literacy and food consumption behavior of school students grade 4-6. Nong Sano Sub-district, Sam Ngam District, Phichit Province. Sample group is 160 students grade 4-6 used random sampling. The tools were questionnaires. Data were analysis by descriptive statistics such as frequency distribution, percentage, mean, standard deviation.
The results of the study showed that most of the students had a moderate level of health Literacy, Accounted for 71.3 percent (=115.34, S.D.= 25.478). And the students had a moderate level food consumption behavior, Accounted for 67.5 percent (=201.88, S.D.=26.405). The results of this research can be used as a basis for developing health literacy. And further promote the food consumption behavior of students.
 Keyword Health Literacy, Food Consumption Behavior
 กลุ่มของบทความ สาธารณสุข สุขภาวะชุมชน และอนามัยสิ่งแวดล้อม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 8 - 9 กรกฎาคม 2564