รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
ระบบจัดการข้อมูลพืชเศรษฐกิจ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Economic Crop Information Management System of Dan Makham Tia District Kanchanaburi |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
ผศ.ธีรเดช เทวาภินันท์ , อ.อุไรรัตน์ แซ่ตั้ง, อ.สะไบแพร อาจศรี, |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
Teeradet Tavarpinun , Urairat Saetang, Sabaiprae Ardsri, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดการข้อมูลพืชเศรษฐกิจ อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลักของท้องถิ่น ดังนั้นทางสำนักงานเกษตรอำเภอด่านมะขามเตี้ยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงมีแนวคิดเพื่อพัฒนาระบบจัดการข้อมูลพืชเศรษฐกิจให้เป็นระบบ เนื่องจากปัจจุบันข้อมูลส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บในรูปแบบเอกสาร ปัญหาที่พบคือเอกสารสูญหาย การฉีกขาด สกปรก การเผยแพร่ล่าช้า เป็นต้น ทางสำนักงานต้องการให้พัฒนาระบบขึ้นมาเพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลพืชเศรษฐกิจของอำเภอด่านมะขามเตี้ยในรูปแบบของแอพพลิเคชัน โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาจัดการเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยงานวิจัยนี้ได้ออกแบบและพัฒนาระบบจัดการข้อมูลพืชเศรษฐกิจ ซึ่งระบบมีการทำงานเป็น 2 ส่วน ดังนี้ 1) เว็บแอปพลิเคชัน ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการข้อมูลพืชเศรษฐกิจโดยการเพิ่ม ลบ แก้ไขข้อมูลต่าง ๆ ส่วนผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลรายละเอียดต่าง ๆ และตั้งกระทู้ข้อความและแสดงความคิดเห็น 2) โมบายแอปพลิเคชัน มีการทำงานคือ สามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ของพืชเศรษฐกิจแต่ละชนิดของแต่ละหมู่บ้าน โดยผู้ใช้งานสามารถดูตำแหน่งพิกัดของพืชได้ ส่วนผู้ดูแลสามารถเพิ่มข้อมูลพิกัดของพืชผ่านอุปกรณ์มือถือได้ และผู้พัฒนาระบบได้ออกแบบการประเมินประสิทธิภาพของระบบออกเป็นสองด้าน คือ 1) ความพึงพอใจ ในการใช้งานผ่านเว็บแอปพลิเคชัน และ 2) ความพึงพอใจในการใช้งานระบบผ่านโมบายแอปพลิเคชัน โดยผู้ที่ทำการประเมินประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คน และเจ้าหน้าสำนักงานเกษตรอำเภอด่านมะขามเตี้ย จำนวน 10 คน จากผลการประเมินพบว่า ในด้านที่ 1 การใช้งานผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.11 และผลการประเมินด้านที่ 2 การใช้งานผ่านโมบายแอปพลิเคชัน ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจเฉลี่ยในระดับที่ดี มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.55 ตามลำดับ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
โมเดล-วิว-คอนโทรลเลอร์ โมเดล-วิว-วิว-โมเดล เอพีไอ |
Abstract |
This research aims to develop a system for managing economic information on crops of Dan Makham Tia, District Kanchanaburi. In which agriculture is the main occupation of the local area. Therefore, the Dan Makham Tia District Agricultural Office realizes the importance and therefore has the idea to develop a system for systematic economic crop information management. As most information is now stored in a document format. The problems found are lost documents, torn, dirty, delayed publishing, etc. The office wants to develop a system to store economic data of the Dan Makham Tia district in the form of an application. By bringing modern technology into the deal to facilitate the convenience of users and related agencies. By this research, design and development of economic information management system. Which the system has working in 2 parts as follows: 1) Web application, Administrators can manage economic crop data by adding, deleting, editing various information. Users can view detailed information and post posts and leave comments. 2) Mobile application, there is work able to locate the location of each type of economic crops in each village. Where users can see the coordinates of plants. Administrators can add the coordinates of the plant through a mobile device. And the system developer has designed two aspects of the performance assessment: 1) satisfaction on the web application and 2) the satisfaction of using the system through the mobile application. Computer experts of 3 people and officials of the Agricultural Office of Dan Makham Tia district of 10 people. From the evaluation results, it was found that in the first area, web application usability. The users have the average satisfaction at a good level, the average is 4.11. And the results of the evaluation of the second side of the mobile application. The users have a good average of satisfaction. The average was 4.55, respectively.
|
Keyword |
Model-View-Model, Model-View-View-Model, API |
กลุ่มของบทความ |
คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|