รายชื่อบทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 8 – 9 กรกฎาคม 2564 รูปแบบออนไลน์
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาแผ่นคอร์เดียไรท์ โดยใช้ส่วนน้ำเกลือ ดินขาว และทรายละเอียด สำหรับทำผลิตภัณฑ์ลิ้นเตาอั้งโล่ทนความร้อนสูง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Cordia life sheet development By using salt water kaolin and sand For making high heat resist shielding products |
ชื่อผู้เขียนภาษาไทย
(Authors TH) |
รศ.สฤษณ์ พรมสายใจ , |
ชื่อผู้เขียนภาษาอังกฤษ (Authors EN)
|
sarit pomsaijai , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1). เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมของวัสดุสำหรับนำมาใช้ในการทำแผ่นคอร์เดียไรท์ 2). เพื่อทดลองใช้ส่วนผสมวัตถุดิบสำหรับนำมาใช้ในการทำแผ่นคอร์เดียไรท์ 3). เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการทดสอบวัดความพึงพอใจของผู้ใช้แผ่นคอร์เดียไรท์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เครื่อง X-ray Fluorescence Spectrometry เครื่องวัดการหาค่าความแข็งแรง เครื่องการดูดซึมน้ำ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าการหดตัว ค่าดูดซึมน้ำ และค่าความแข็งแรง
ผลจากการวิเคราะห์ดินขาวลำปาง จังหวัดลำปาง คุณสมบัติทางเคมี จำนวน 12 ชนิด มีสารประกอบที่เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ร้อยละ 56.20 แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ร้อยละ 0.32 ซิลิกา (SiO 2) ร้อยละ 0.10 และค่าการสลายตัวของสารหลังจากการเผา (LOI) ร้อยละ 43.70 มีสารประกอบแคลเซียมประมาณ ร้อยละ 99.50-99.80 และมีเหล็กออกไซด์เล็กน้อย และนำมาใช้เป็นส่วนการทดลองใช้ส่วนผสมวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ลิ้นเตาอั้งโล่ทนความร้อนสูง ผลจากการทดลอง จำนวน 5 สูตร พบว่า การพัฒนาแผ่นคอร์เดียไรท์ โดยใช้ส่วนน้ำเกลือ ดินขาวและทราย สำหรับทำผลิตภัณฑ์แผ่นคอร์เดียไรท์ สูตรที่มีความเหมาะสมแก่การนำไปใช้งานมากที่สุด ได้แก่ สูตรที่ 1 มีอัตราส่วนผสมดินขาว ร้อยละ 60 ทรายละเอียด ร้อยละ 20 น้ำเกลือ ร้อยละ 20 มีการดูดซึมน้ำ ร้อยละ 3.57 และค่ามีความแข็งแรง เท่ากับ 71.62 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยเผาอุณหภูมิ 1200 องศาเซลเซียส ซึ่งทนความร้อนได้มากกว่าของเดิมถึง 600 องศาเซลเซียส จากนั้นนำผลที่ผ่านการทดลองไปทำการวิเคราะห์ เพื่อสรุปการหาประสิทธิภาพวัดระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์แผ่นคอร์เดียไรท์ ทนความร้อนสูง จำนวน 20 คน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่า ( = 3.72 S.D. = 0.63)
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
พัฒนาแผ่นคอร์เดียไรท์, วัตถุดิบ, ผลิตภัณฑ์ลิ้นเตาอั้งโล่, ทนความร้อนสูง |
Abstract |
Objective of this research: 1). To study the mix rate of materials used in the making of cordiaite sheets 2). To try out a combination of raw materials that can be used to make Cordierite sheets 3). To study the effectiveness of the test to measure the satisfaction of users of Cordia Wright sheets The research instruments were X-ray machines, Fluorescence Spectrometry, strength determination machines. Water absorption and statistical questionnaires used in the analysis were percentage values, shrinkage values, water absorption values, and strength
The results from the analysis of Kaolin, Lampang, Lampang Province, 12 chemical properties, with descending number of compounds as follows: 56.20% calcium oxide (CaO), 0.32% magnesium oxide (MgO), 0.32% silica (SiO2), 0.10% and 43.70% decomposition of the substance after calcination (LOI) contains 99.50-99.80% calcium compounds and a small amount of iron oxide and used as a trial part of the ingredients used in the production of high heat resistant brazier tongue products The results of the experiment, 5 formulas, found that the corradialite plate development By using the saline, kaolin and sand parts for making corporaite plate products. The formula that is most suitable for use is Formula 1 with a mixture of 60 percent kaolin, 20 percent fine sand, 20 percent salt water, and a percent water absorption. 3.57 and the value is 71.62 kg/cm2 By burning at 1200 degrees Celsius, which can withstand heat up to 600 degrees Celsius more than the original. The results were then analyzed to summarize the satisfaction level of the users of the cororite disc products. The number of 20 people had a high level of satisfaction (= 3.72 S.D. = 0.63)
|
Keyword |
Cordia life sheet development, raw material, byazier tongue products,High heat resistance |
กลุ่มของบทความ |
วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และการสื่อสาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
8 - 9 กรกฎาคม 2564 |
|
|