บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมทักษะการปฏิเสธและป้องกันนักสูบหน้าใหม่ ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) EFFECTSOF NEW SMOKERS PREVENTION PROGRAM ON SECONDARY SCHOOL STUDENTS AT A SCHOOL, PHRA NAKHON SRI AYUTTHAYA PROVINCE
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.สุกฤษฏิ์ ใจจำนงค์ ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการป้องกันนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ แบบสอบถาม และทักษะการปฏิเสธต่อการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ นำมาคำนวณและวิเคราะห์โดยใช้ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired sample T-test ผลการวิจัย พบว่า มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ ร้อยละ 41.2 ขณะที่บุคคลใกล้ชิดไม่สูบบุหรี่เพียง ร้อยละ 21.6 มีระดับความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 53.8 หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมมีระดับความรู้เพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูงคิดเป็น ร้อยละ 100 ส่วนด้านทักษะการปฏิเสธต่อการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 84.6 หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมมีระดับทักษะการปฏิเสธอยู่ในระดับสูงคิดเป็น ร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติ Paired sample T-test พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ ก่อนและหลังการให้โปรแกรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) และทักษะการปฏิเสธต่อการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่ ทั้งก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยคะแนนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)
สรุปการจัดโปรแกรมสร้างเสริมทักษะการปฏิเสธและป้องกันนักสูบหน้าใหม่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ส่งผลให้กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่เพิ่มขึ้น และมีทักษะการปฏิเสธ สามารถนำความรู้ และทักษะการปฏิเสธเพื่อป้องกันตนเองจากสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกชักชวนให้สูบบุหรี่
 คำสำคัญภาษาไทย ความรู้เกี่ยวกับบุหรี่,ทักษะการปฏิเสธ,นักสูบหน้าใหม่
 Abstract
This research was a quasi-experimental research design with the one group pretest-posttest design. The objective was to study the knowledge and skills for refusing to be persuaded to smoke in lower secondary school students, a school in Phra Nakhon Sri Ayutthaya. 39 samples were study by using experiment and questionnaires as a tool for data collection. Statistical analysis was performed by using. Descriptive statistics and inferential statistical frequency Distribution, Mean, Percentage, Standard Deviation, and Paired sample T-test. The research found that the sample group were men (100%), most of The respondents are close to smokers in family members (41.2%). The level of knowledge about cigarettes before joining the program was at a medium level (53.8%). And after participation the program, there was a high level of knowledge about cigarettes (100%). Regarding the rejection skills for being persuaded to smoke before joining the program, a low lever (84.6%) and after participation in the program had a high level of rejection skills for persuading tobacco user (100%). Knowledge about cigarettes before and after the program is different statistically significant (p-value <0.05).
In conclusion, this study revealed that knowledge about cigarettes and rejection skills in smoking persuasion aimed at increasing the participant’s knowledge level of cigarettes are required secondary school students, Can play a key role increasing the students have rejection skills in smoking persuasion.
 Keyword Cigarette education program, Skills for refusing, New Smoke
 กลุ่มของบทความ การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563