บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้ และทัศนคติการบริโภคอาหารเช้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนแห่งหนึ่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) THE RESULTS OF A HEALTH EDUCATION PROGRAM ABOUT THE KNOWLEDGE AND ATTITUDES FOR BREAKFAST CONSUMPTION AMONG HIGH SCHOOL STUDENTS IN A SCHOOL, PHRA NAKHON SI AYUTTHAYA PROVINCE
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวศศิวิมล จันทร์มาลี ,
 บทคัดย่อภาษาไทย

การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เฉลี่ย และคะแนนทัศนคติเฉลี่ยก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และทัศนคติการบริโภคอาหารเช้า กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่ง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 40 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เก็บข้อมูลก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired Sample t-test ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ระดับความรู้และระดับทัศนคติ การบริโภคอาหารเช้าทั้งก่อนและหลังการให้โปรแกรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการศึกษาพบว่าระดับความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 75 หลังเข้าร่วมโปรแกรมระดับความรู้เพิ่มขึ้นเป็นระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 90 ระดับทัศนคติก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอยู่ในระดับดีร้อยละ 70 หลังเข้าร่วมโปรแกรมระดับทัศนคติเพิ่มขึ้นร้อยละ 100 เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย พบว่าระดับความรู้และทัศนคติก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

            สรุปผลได้ว่าการจัดโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และทัศนคติการบริโภคอาหารเช้า มีผลทำให้ระดับความรู้และทัศนคติของกลุ่มตัวอย่างดีขึ้น ซึ่งสามารถนำความรู้และทัศนคติที่ดีขึ้นนี้ไปใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารเช้าต่อไปได้

 

 
 คำสำคัญภาษาไทย การบริโภคอาหารเช้า, ความรู้, ทัศนคติ
 Abstract

This research was a one-group quasi-experimental research before and after joining a health education program about the knowledge and attitudes for breakfast consumption. The objectives were compared to the average knowledge scores and the average attitude scores before and after joining the program. Knowledge and attitudes of breakfast consumption were affected by participation in a health education program about the knowledge and attitudes for breakfast consumption. The samples were high school students who were amount of 40 people by random sampling at a school in Phra Nakhon Si Ayutthaya Province. Those data were collected before and after joining the program. The statistics which used for data analysis were frequency, means, percentage, standard deviation and paired sample t-test. It was different that knowledge levels and attitude levels of breakfast consumption before and after joining the program. Statistical significance showed that at p-value < 0.05.

The results showed that the most of knowledge levels before joining the program were moderate levels at 75% and after joining the program the knowledge levels were increased to high levels at 90%. For the attitude levels before joining the program were good levels at 70% and after joining the program the attitude levels were increased to 100%. When comparing the average of knowledge and attitude levels as before and after joining the program their results were significantly different that at p-value < 0.05.

            It can be concluded that the organization of the health education program about the knowledge and attitudes for breakfast consumption has an effect on the levels of knowledge and attitude of the samples. Also, this study showed the health education program about the knowledge and attitudes for breakfast consumption can improve high school students’ breakfast behavior.

 

 
 Keyword Breakfast consumption, Knowledge, Attitude
 กลุ่มของบทความ การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563