บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย พัฒนาการทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่งในประเทศไทย
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Language Development of Lao Khrang Ethnic Group in Thailand
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.จิรศุภา ปล่องทอง ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
          ลาวคั่ง หรือลาวครั่ง ที่นิยมเรียกตนเองว่า "ลาวขี้ครั่ง" หรือ "ลาวคั่ง"  คำว่า "ลาวครั่ง" ยังไม่ทราบความหมายที่แน่ชัด สันนิษฐานว่ามาจากคำว่า "ภูฆัง"  ซึ่งเป็นชื่อของภูเขาที่มีลักษณะคล้ายระฆังอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองหลวงพระบางในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อันเป็นถิ่นฐานเดิมของลาวครั่ง ต่อมาได้อพยพเข้ามาที่ประเทศไทยในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีในปี พ.ศ. ๒๓๒๑ และในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชในปี พ.ศ. ๒๓๓๔ ด้วยเหตุผลทางการเมืองและเป็นเชลยศึกสงคราม ปัจจุบันอาศัยอยู่ ในภาคกลางของประเทศไทย เช่น จังหวัดนครปฐม จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี ฯลฯ คนไทยเชื้อสายลาวครั่งที่อพยพเข้ามามีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง ได้แก่ ภาษา การแต่งกาย ประเพณี และพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ โดยได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน โดยเฉพาะภาษาที่ใช้ คือภาษาลาวครั่ง นักภาษาศาสตร์ได้จัดภาษาลาวครั่งอยู่ในตระกูลภาษาไท-กะได ส่วนเอกลักษณ์เฉพาะตัวของชาวลาวครั่งที่สามารถแบ่งแยกได้ทันทีที่พบ  คือ ภาษาพูด ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงสูงคล้ายกับภาษาลาวในแถบภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง และแขวงไชยะบุรี นอกจากนี้ยังคล้ายคลึงกับภาษานครไทย ภาษาที่พูดในอำเภอนครไทยจังหวัดพิษณุโลก  อย่างไรก็ดีในภาษาลาวครั่งจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น ลักษณะเด่นของภาษาลาวครั่งที่แตกต่างจากภาษาลาวกลุ่มอื่น ๆ คือนอกจากลักษณะทางเสียงแล้ว คำลงท้าย ก็เป็นเอกลักษณ์ทางภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวครั่ง
 คำสำคัญภาษาไทย พัฒนาการภาษา, ชาติพันธุ์ลาวครั่ง, ภาษาลาวครั่ง
 Abstract
             Laos Khang or Lao Khrang popularly known as "Lao Khrang" or "Laos Khrang" still do not know the exact meaning. Presumably derived from the word "Phu Khang" which is the name of the mountain that resembles a bell on the northeast side of Luang Prabang in the Lao People's Democratic Republic which was the original settlement of Laos Khrang. Later migrated to Thailand during the reign of King Thonburi in the year 2321 and during the reign of King Phra Buddha Yod Fa, Chulalongkorn the Great in the year 2334 for political reasons and as a prisoner of war. Currently live In the central region of Thailand such as Nakhon Pathom Province, Suphan Buri Province, Chainat Province, Uthai Thani Province etc. Thai people of Lao Khrang immigrants have their own unique culture including language, clothing, traditions, and various rituals and beliefs which has been practiced continuously for a long time.  Especially the language used Meaning Lao Khrang language. Linguists have organized the Lao Khrang language in the Tai-Kadai language family. The unique characteristics of the Lao Khrang people that can be immediately separated is the spoken language which has a high tonal sound similar to the Lao language in the northern region and the northwest region of the Lao People's Democratic Republic, such as Luang Prabang And Chaiyaburi. It is also similar to the Thai language. The language spoken in Nakhon Thai District, Phitsanulok Province.  However, in the Lao Khrang language there will be differences in each locality. The distinctive characteristics of the Lao Khrang language are different from other Lao languages. In addition to the sound characteristics, the ending is also the language identity of the Lao Khrang ethnic group.
 Keyword Language Development, Lao Khrang Ethnic Group, Lao Khrang language
 กลุ่มของบทความ สาขาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563