บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (QR CODE) เพื่อการรับรู้ข้อมูลแบบพึ่งพาตนเอง วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร อำเภอเมืองจังหวัดนครปฐม
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Development of a Model of Interpretations of Historical Tourism with QR CODE System for Self - Reliance in Information Perception at Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan, Muang District, Nakhon Pathom Province
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.ธนวรรษ ดอกจันทร์ , นางสาวสิตานัน ปิ่นแหวน, นางสาวจุฑามาศ สภาชัย, นางสาวสมณิกาญจน์ สามคำนิล, นางสาวเยาวดี ชัยโชค,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาการสื่อความหมายด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (QR CODE) ที่สอดคล้องต่อพฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลของนักท่องเที่ยว 3) เพื่อการพัฒนารูปแบบการการสื่อความหมายทางการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ด้วยระบบคิวอาร์โค้ด (QR CODE) เพื่อการรับรู้ข้อมูลแบบพึ่งพาตนเอง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณเก็บข้อมูลด้วยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ หน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ ชุมชน และนักท่องเที่ยวชาวไทย รวมจำนวน 41 คน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการพัฒนาระบบคิวอาร์โค้ด (QR CODE) รวมจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลตามประเด็นศึกษา จากนั้นสังเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการศึกษาแบบบรรยายเชิงพรรณณา จากการศึกษาพบว่า ในอดีตวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหารเป็นมหาเจดีย์แห่งแรกของประเทศไทย ที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชกษัตริย์แห่งอินเดีย ต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระสถูปเจดีย์คงมีการกระทำต่อเนื่องมาจนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้พบว่า มีการผสมผสานกันของศิลปะในแต่ละยุคและการผสมผสานกันทางศิลปกรรมยังทำให้องค์เจดีย์มี อัตลักษณ์แตกต่างจากองค์เจดีย์รูปแบบเดียวกันในประเทศไทย คือ เป็นองค์เจดีย์ที่สร้างครอบทับกันถึง 3 องค์ 3 ศิลปะ ซึ่งการสื่อความหมายด้วยคิวอาร์โค้ด เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวที่มีช่วงอายุเฉลี่ยระหว่าง 17 - 35 ปี ใช้งานง่ายสะดวกเหมาะสมกับการเปิดใช้งานผ่านสมาร์ทโฟน (Smart Phone) ซึ่งถ้าสามารถใช้งานกับผู้สูงอายุได้ ควรสามารถสแกนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ได้เนื่องจากผู้สูงวัยนิยมใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ในปัจจุบัน โดยภายในระบบคิวอาร์โค้ด มีประวัติเกี่ยวกับวัตถุโบราณทั้งหมด 5 จุดสำคัญขององค์พระปฐมเจดีย์ ได้แก่ จุดที่ 1 เรื่องราวประวัติความเป็นมาและข้อมูลทั่วไปขององค์พระปฐมเจดีย์ จุดที่ 2 ประวัติความเป็นมาและเรื่องราวต่าง ๆ ของพระร่วงโรจนฤทธิ์ทางด้านทิศเหนือ จุดที่ 3 ประวัติความเป็นมา และรายละเอียดงานศิลปกรรมต่าง ๆ ภายในวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออก จุดที่ 4 ประวัติความเป็นมาและเรื่องราวต่าง ๆ ของพระพุทธรูปศิลาขาวทางด้านทิศใต้ จุดที่ 5 ประวัติความเป็นมาและเรื่องราวของพระพุทธรูปปางต่าง ๆ ที่อยู่ภายในวิหารพระนอนทางด้านทิศตะวันตก
 คำสำคัญภาษาไทย การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์,การพัฒนารูปแบบการสื่อความหมาย,ระบบคิวอาร์โค้ด (QR CODE),การรับรู้ข้อมูลแบบพึ่งพาตนเอง,วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
 Abstract
The Development of a Model of Interpretations of Historical Tourism with QR CODE System for Self - Reliance in Information Perception at Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan, Muang District, Nakhon Pathom ProvinceThe purposes of this research were: 1) to study the area context of Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan; 2) to study the development of interpretations with QR CODE system that is consistent with tourists’ information perception behavior and 3) to develop a model of interpretations of historical tourism with QR CODE system for self - reliance in information perception. This study was a mixed methods research through qualitative and quantitative methods. Data were collected from related documents, in - depth interview from people involved in historical tourism in Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan. The sample was divided into 4 groups, namely government agencies, entrepreneurs, community and Thai tourists, totaling 41 individuals. Furthermore, data on the satisfaction with the developed QR CODE system were collected by distributing copies of questionnaire to 392 (Taro Yamane Theory)Thai tourists.Data were analyzed according to study issues and then synthesized before presentation through descriptive statistics.
The results of this research indicated that of 1) Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan previously was the first pagoda in Thailand, built during the reign of Ashoka the Great, the King of India Later, the restorations of the Phra Chedi pagoda continued to the reign of King Rama IV until the present. In addition, it was architecturally built under integrated arts of each era and artistic blending, making this pagoda unique and different from the same type of pagodas in Thailand. Its uniqueness can be noticed by the structure of three overlapping pagodas in 3 artist styles. 2) The interpretations using QR CODE system are suitable for tourists with an average age of 18 - 29 years. The developed system is easy to use, convenient and suitable for use via smart phone. In case of extension for tourist, it should be scanned via LINE application to know information about Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan. 3) In terms of developing a model of interpretations for historical tourism in Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan, Muang District, Nakhon Pathom Province,  the QR CODE system was developed for self-reliance information perception that consists of useful content, namely: the history of all 5 ancient artifacts as follows: the first spot is the history and general information of Phra Pathom Chedi; the second spot was the history and various stories of Phra Ruang Rotchanarit stationed in the northern direction; the third spot was the history and details of fine arts in the Grand Hall of the eastern direction; the fourth spot was the history and stories of the white stone Buddha statue in the southern direction; and the fifth spot was the history and stories of the various Buddha statues stationed inside the Wihan of Reclining Buddha in the western direction. It could be concluded that the developed QR CODE system for the interpretations for historical tourism in Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan could lead to self-reliance information perception among tourists and contained interesting media components, outstanding features through images, sounds, storytelling, innovative and distinctive presentation, and joyful clip video.
 Keyword Historical Tourism,Development of Interpretive Model,QR Code System,Self - Reliance Information Perception,Wat Phra Pathom Chedi Ratcha Wora Maha Wihan
 กลุ่มของบทความ การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมบริการ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563