บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
หลักฐานการมีอยู่ของผู้ปกครอง และชนชั้นสูงสมัยทวารวดี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Evidences of Governors and Aristocrats’ Existences in Dvaravati Period |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
ผศ.ดร.สุพิชฌาย์ จินดาวัฒนภูมิ , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
จากการขุดแต่งโบราณสถานเนินพระงาม วัดพระงาม จังหวัดนครปฐม นอกจากมีการขุดค้นพบ “ประติมากรรมดินเผารูปอสูร” ยังได้พบศิลาจารึกสมัยทวารวดี ทางด้านทิศเหนือของเนินโบราณสถานวัดพระงาม จำนวน 1 หลัก เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2562 มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทำด้วยหินสีเทา ส่วนที่เหลือยังคงปรากฏรูปอักษรปัลลวะ ภาษาสันสกฤต บางส่วนที่สามารถอ่านได้อย่างชัดเจน ได้กล่าวถึงคำว่า “ทวารวตีวิภูติ” แปลความได้ว่า “ผู้ยิ่งใหญ่แห่งทวารวดี” จึงเป็นการยืนยันถึงการมีตัวตนของบ้านเมืองนามว่า “ทวารวดี” และยืนยันการมีผู้นำในการปกครองดังนั้นการที่ทวารวดีอาจเป็นแคว้น และอาณาจักรที่ก่อเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อมีผู้นำ ผู้ปกครอง และชนชั้นสูง เป็นตัวขับเคลื่อนสังคมที่มีประชารัฐ มีอาณาเขต และอำนาจอธิปไตยเป็นของตนเอง ชนชั้นปกครอง และชนชั้นสูงประกอบด้วยพระมหากษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ เจ้านาย และขุนนาง จากการศึกษาภาพถ่ายทางอากาศพบว่า มีเมืองโบราณในช่วงสมัยทวารวดีมากกว่า 63 เมืองด้วยกัน จากการสำรวจ และขุดค้นทางโบราณคดียังพบว่าเมืองโบราณแทบทุกแห่งจะมีลักษณะความต่อเนื่องทางวัฒนธรรมจากชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ พัฒนาการขึ้นมาสู่ช่วงสมัยทวารวดีเมื่อมีการติดต่อกับอารยธรรมอินเดีย ดังนั้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำภาคกลางตอนล่างดังกล่าวจึงปรากฎนามว่าทวารวดี ที่อาจเป็นชื่อกษัตริย์ บ้านเมือง อาณาจักร ชื่อราชวงศ์หรืออาจเป็นชื่อที่ใช้เรียกกลุ่มเมืองเจ้าของวัฒนธรรมแบบเดียวกัน ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 11-16 และความเป็นบ้านเมืองย่อมมีผู้ปกครอง และชนชั้นสูงในการทำนุบำรุง และปกครองแว่นแคว้นของตน มีการค้นพบจารึกภาษาสันสกฤต ตัวอักษรปัลลาวะ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13 บนเหรียญเงิน 2 เหรียญ ที่โบราณสถานเนินหิน ใกล้วัดพระประโทนเจดีย์ จังหวัดนครปฐม เมื่อ พ.ศ.2486 ความว่า “ศฺรีทฺวารวตีศฺวรปุณฺย” แปลได้ว่า “พระเจ้าศรีทวารวดี ผู้มีบุญอันประเสริฐ” บุญกุศลของพระราชาแห่งศรีทวารวดี หรือ บุญของผู้เป็นเจ้าแห่งศรีทวารวดี หลักฐานดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานถึงการมีอยู่จริง ของชนชั้นผู้ปกครอง และชนชั้นสูง นอกจากหลักฐานดังกล่าวก็สามารถศึกษาได้จากหลักฐานโบราณคดีสมัยทวารวดีประเภทอื่น ๆ ได้แก่ จารึกที่ปรากฎบนแผ่นดินเผา แผ่นทองแดง และฐานธรรมจักร เป็นต้น
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ผู้ปกครอง, ชนชั้นสูง, หลักฐานสมัยทวารวดี |
Abstract |
From the excavation at Nern Phra Ngam, Phra Ngam temple at Nakhon Pathom, besides the excavation of “demon’s terracotta sculpture”, there was one stone inscription in Dvaravati period in north of Nern Phra Ngam archaeological site on October 2nd, 2019. It made from gray stone in rectangle; the remaining parts were Sanskrit Palawan scriptwhich could be clearly read, mentioned the words “Dvaravatiwibhuti” meaned “The Great Person of Dvaravati”.That was confirmed the existence of city named “Dvaravati” and having leaders in government. Therefore, Dvaravati might be the region and the kingdom that had been occurred when the leaders, the governors and the aristocracy driven the society with their own citizen, territories, and sovereignty. The ruling classes and the upper classes comprised of King, royal family, masters and nobles. From the study of aerial photograph found that there were more than 63 ancient cities in Dvaravati period. The archeological surveys and excavations also found that almost ancient towns had the continuity of culture from prehistoric communities, developed to Dvaravati period when dealing with Indian civilization. So, that area of lower central of the river plain named Dvaravatimight come from the name of King, country, kingdom, royalty or names of a group of cities that had the same culture in the period around 11-16 Buddhist century, and being the country would have the governors and upper classes to support and govern their regions. With the discovery of Sanskrit inscription inPalawa letters aged around 13th Buddhist century on two silver coins at Nern Hin Ruins, near Phra Prathon Chedi temple, in Nakhon Pathom in 1943, mentioned “Sri Dvaravatisuanbhuya” could be translated as “The King Sri Dvaravati who had a noble merit”, the merit of the King of Sri Dvaravati or the merit of the lord of Sri Dvaravati. This evidence was the proof of evidence of governor and aristocracy. In addition to the above evidence, it could be studied from others archaeological evidences in Dvaravati period such as the inscription on terracotta, on copper plate, the wheel of Dharmachakra and etc.
|
Keyword |
Singha, sculpture, Dvaravati art |
กลุ่มของบทความ |
สาขาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิชาการ |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|