บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย พฤติกรรม ความพึงพอใจ และปัจจัยที่มีต่อการใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) กรณีศึกษาธนาคารออมสินเขตอุทัยธานี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Satisfaction Behavior and Factors Affecting The Use of Mobile Banking Services (MyMo) The Case Study of The Government Savings Bank in Uthaithani Area
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวปัณรส สุวาท ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจที่มีต่อการใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) ของธนาคารออมสินเขตอุทัยธานี โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 400 ชุด ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรในเขตอุทัยธานี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) จำนวน 258 ราย ไม่ใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) จำนวน 142 ราย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21 – 30 ปี สถานภาพโสด ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพอื่นๆ ( ค้าขาย, ว่างงาน, ข้าราชการบำนาญ) รายได้น้อยกว่า 10,000 บาท ด้านความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง คาดหวังให้มีข้อมูลในการทำรายการต่างๆเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนยืนยันในการทำธุรกรรมทุกครั้ง โดยผลที่เกิดขึ้นจริงมากกว่าค่าคาดหวัง แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้บริการมีความไว้วางใจและเชื่อถือ ในการใช้บริการ Mobile Banking (MyMo) โดยผลที่เกิดขึ้นจริงมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าความคาดหวัง ในด้านอื่นๆนั้นผลที่เกิดขึ้นจริงค่าเฉลี่ยต่ำกว่าความคาดหวัง ผู้ให้บริการต้องพัฒนา Application ด้านอื่นๆ ให้ตอบสนองต่อความต้องการใช้งานมากที่สุด จะส่งผลให้สามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้เพิ่มขึ้น
 คำสำคัญภาษาไทย พฤติกรรม ,ความพึงพอใจ,ค่าคาดหวัง
 Abstract
The objective of this study is to study the behavior and satisfaction with using the Mobile Banking (MyMo) service of the Government Savings Bank, Uthai Thani District By using questionnaires as a tool to collect 400 sets of data. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. The results of the study showed that 258 Mobile Banking (MyMo) users did not use Mobile Banking (MyMo) of 142 people. Most of the samples were female aged 21 - 30. Year Single Status Bachelor's Degree Degree Other occupations (trading, unemployment, government officials, pensioners), income of less than 10,000 baht. The satisfaction of the sample. Expect to have information in various transactions to check for accuracy. Before confirming every transaction Which the actual result is greater than the expected value Show that users have trust and trust In using Mobile Banking (MyMo). The actual result is higher than expected On the other side, the actual results are below average expectations. Service providers must develop other applications to meet the needs of most applications. Will result in greater access to customers
 Keyword consumer behavior ,satisfaction ,Expected value ,Mobile Banking ,MyMo
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563