บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาประเทศไทย 4.0 ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) The Administrative Information Communication Technology for Learning in Thailand 4.0 era with Perception of Teachers in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นายสันติสุข สมพร , อ.ดร.โกวิท วัชรินทรางกูร, อ.ดร.ศรีเพ็ญ พลเดช,
 บทคัดย่อภาษาไทย
            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาประเทศไทย 4.0 ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ ศึกษาสภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ สำหรับการศึกษาประเทศไทย 4.0 ตามการรับรู้ของครู และเพื่อเปรียบเทียบสภาพการรับรู้ของครูที่มีต่อการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียน จำแนกตามวุฒิการศึกษา และอายุสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32  เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูในโรงเรียน จำนวน  331 คน  โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่  แบบสอบถามความคิดเห็น ของครูเกี่ยวกับการรับรู้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา  ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้สำหรับการศึกษาประเทศไทย 4.0 ตามการรับรู้ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวม อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านพื้นฐานงานเอกสารประมวลผลคำมีค่าเฉลี่ยสูงสุด  รองลงมาคือ ด้านพื้นฐานการนำเสนองาน และด้านพื้นฐานการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ในระดับมาก  ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการใช้ดิจิทัลเพื่อความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งอยู่ในระดับมาก 2) ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ที่มีตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการรับรู้การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
 คำสำคัญภาษาไทย การรับรู้ของครู, เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้, การศึกษาประเทศไทย 4.0
 Abstract
            The purpose of this research was to study the State of Administrative Information Communication Technology for Learning in Thailand Education 4.0 with Perception of Teachers in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32. The purposes of this study were Study the State of Administrative Information Communication Technology for Learning in Thailand Education 4.0 era with Perception of Teachers and to compare the State of Perception’ s Teachers with Administrative Information Communication Technology in school Classified by educational background and age under the Secondary Educational Service Area Office 32 Survey Research.
The sample consisted of 331 teachers obtained by stratified random sampling. The instruments used in this study were:  questionnaire about opinion of teachers with Information Communication Technology for learning with a reliability of 0.94. The  statistics  used  for  analyzing  data  were  mean,  standard  deviation and  percentage The results of the study were as follows: 1) The states of Administrative Information Communication Technology for Learning in Thailand Education 4.0 with Perception of Teachers in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 in total were at an high. When consider each aspect it was found that basic aspects of document processing were highest, the basic presentation and the basic internet usage are followed. The lowest mean is security digital. 2) Teachers in Schools under the Secondary Educational Service Area Office 32 have different educational background and age. They are different opinions on perception of information technology management for learning. significantly differently at .05
 Keyword Perception of Teachers, Administrative Information Communication Technology for Learning, Thailand Education 4.0
 กลุ่มของบทความ บริหารการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563