บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในการผลิตต้นซิลเวอร์โอ๊ค กรณีศึกษา จังหวัดนครราชสีมา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Financial Feasibility Study of Silver Oak Production: The Case Study of Nakhon Ratchasima
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นายปริญญา ประถมสุริยกุล ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
\bar{x}
ปัจจุบันโครงการปลูกไม้ยืนต้นเป็นที่ได้รับความสนใจและความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากโครงการต่าง ๆของรัฐบาลและเอกชนอย่างต่อเนื่อง แต่โครงการไม้ยืนต้นต้องใช้ระยะเวลาในการปลูกที่ยาวนานและมีความเสี่ยงด้านการตลาด จึงจัดทำงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปทางกายภาพ การผลิต และความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการปลูกต้นซิลเวอร์โอ๊คในจังหวัดนครราชสีมา โดยใช้แบบสอบถามเชิงลึกสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกซิลเวอร์โอ๊ค 10 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยของต้นทุนมาเป็นปีฐานเพื่อทำการประเมินต้นทุน ผลตอบแทน และความคุ้มค่าทางการเงินของการผลิตต้นซิลเวอร์โอ๊คที่ผู้วิจัยทำการออกแบบไว้ทั้ง 3 รูปแบบ ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรมีต้นทุนมาจากวัตถุดิบทางตรงมากที่สุดถึงร้อยละ 64.42 โดยการผลิตยิ่งลงทุนในการผลิตและขายในความถี่ที่มาก ยิ่งทำให้ได้ผลตอบแทนสูงยิ่งขึ้นเช่นกัน งานวิจัยนี้เสนอแนะว่าให้เกษตรกรควรทำการศึกษาหาทางเลือกอื่น ๆ ในการใช้วัตถุดิบทางตรง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมและแนะนำความรู้ให้แก่เกษตรกร ในเรื่องของข่าวสารด้านการตลาดของไม้ยืนต้นแต่ละชนิดให้ชัดเจนและเข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องของราคา
 คำสำคัญภาษาไทย การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงิน, ซิลเวอร์โอ๊ค, จังหวัดนครราชสีมา
 Abstract
Currently, the trend of planting perennials plant has a drastic increase and become widespread, due to encouraging of many projects from the government and private sector successively. However, these projects require a long period for planting to gain the outcome. Moreover, the risk of marketing is also the one thing that has to consider. This research will investigate physical manufacturing and the feasibility of a financial within this planting Silver Oak project in Nakhon Ratchasima. By using in-depth questionnaires to interview ten agriculturists who plant Silver Oak. Afterwards, the data will be analyzed, which classified in three methods, by using the average capital as a base year to approximate expense, income, and financial benefit of Silver Oak. The result of this research, it is found that the major capital from the farmers is from direct raw materials about 64 percent. It is obviously seen that if the producer invests heavily on a large volume of output and sales, the yield will return at a high rate as well. It is suggested that the farmers should learn how to find the optional method about using direct raw material. Furthermore, the related organization must encourage and supply them the essential information. As regards the news, species of each perennial and the price should be included in the market.
 Keyword Financial Feasibility Study, Silver Oak, Nakhon Ratchasima
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563