บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่องการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบทีมการแข่งขัน (TGT) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงตรรกะ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Development of Web-Based Instruction in Basic of Computer Programming Subject on Problem Solving via Algorithm with Teams-Games-Tournament to enhance the Logical Thinking for Mathayomsuksa 5 students. |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวอมรรัตน์ พิมพ์เถื่อน , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงตรรกะ และศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียน ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่องการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบทีมการแข่งขัน (TGT) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงตรรกะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่เรียนในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ปีการศึกษา 2/2562 จำนวน 18 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลากเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่อง การแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบทีมการแข่งขัน (TGT) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงตรรกะ แบบประเมินคุณภาพของบทเรียน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงตรรกะ และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน
ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่อง การแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบทีมการแข่งขัน (TGT) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงตรรกะ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 90.83/81.94 ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนมีค่ามากกว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 การเปรียบเทียบกระบวนการคิดเชิงตรรกะ 5 คุณลักษณะของผู้เรียนคิดเป็นร้อยละ 70.28/85.83 กระบวนการคิดเชิงตรรกะของนักเรียนหลังเรียนมีค่าสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.30, S.D. = 0.71) สรุปได้ว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น เรื่องการแก้ปัญหาด้วยอัลกอริทึม ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบทีมการแข่งขัน (TGT) เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงตรรกะที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการการเรียนการสอนได้
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบนอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้แบบทีมการแข่งขัน (TGT) กระบวนการคิดเชิงตรรกะ |
Abstract |
The objectives of this study were to (1) develop and (2)find the efficiency of the developed WBI, (3) compare the learning achievement, (4) compare the logical thinking, and (5) explore the satisfaction of learners who learned after learning with ‘The Development of Web-Based Instruction in Basic of Computer Programming Subject on Problem Solving via Algorithm with Teams-Games-Tournament to enhance the logical thinking’. 18 learners who enrolled in ‘the Basic of Computer Programming Subject’ in the 2nd semester of the academic year of 2019 were selected as a sample, using a group of participants with the Simple Random Sampling method. The research instruments were (a) the Web-Based Instruction with Teams-Games-Tournament to enhance the logical thinking on Problem Solving via Algorithm, (b) a lesson quality assessment form, (c) Pre-test and Post-test, (d) the logical thinking assessment form, and (e) a learner’s satisfaction assessment form.
The findings revealed that the efficiency of the Web-Based Instruction (E1/E2) was 90.83/81.94 the average. The learning achievement after learning with the developed WBI was higher than before learning at the significance level of .05. The comparison of logical thinking among participants in all 5 components was 70.28/85.83 the average. The comparison of logical thinking was higher than before learning at the significance level of .05. The assessment showed a high level of the learners’ satisfaction ( = 4.31, S.D. = 0.68). In conclusion, the Web-Based Instruction with Teams-Games-Tournament to enhance the logical thinking on Problem Solving via Algorithm could be used as a teaching and learning media.
|
Keyword |
Web-Based Instruction, Teams-Games-Tournament, Logical Thinking |
กลุ่มของบทความ |
คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|