บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Enhancing creativity through learning management in STEM Education
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นายสรณัฐ ดีสวัสดิ์ , นายเกียรติศักดิ์ รักษาพล,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนผ่านแนวคิดเรื่อง มลพิษทางน้ำ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 โรงเรียนบ้านโคกสะอาด อ. แก่งคอย จ. สระบุรี ปีการศึกษา 2562 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาคือ Creativity product analysis matrix (CPAM) ซึ่งวิเคราะห์จากชิ้นงานของนักเรียนที่ได้สร้างจากการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา โดยใช้เกณฑ์มิติความคิดสร้างสรรค์ 3 ด้านคือ นวภาพ การแก้ปัญหา และการต่อเติมเสริมแต่ง ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษามีค่าเฉลี่ยของมิติความคิดสร้างสรรค์เท่ากับ 82.62 % จากผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับ ดีมาก   เมื่อผ่านกระบวนการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบสะเต็มศึกษา ผ่านแนวคิดเรื่อง มลพิษทางน้ำ
 คำสำคัญภาษาไทย ความคิดสร้างสรรค์, การจัดการเรียนรู้, สะเต็มศึกษาา
 Abstract
This research was studied the results of learning management in STEM Education on students' creativity through the concept of water pollution of grade 4 - 6 students at Ban Khok Sa-at School, Kaeng Khoi District, Saraburi Province, academic year 2019. The instrument; the Creativity product analysis matrix (CPAM) was used in the study, which was analyzed from the product of students were created by learning management in STEM Education. There are three creativity dimensions that used in this study which are novelty, resolution and elaboration dimension. The results of this research showed that, the students who received the learning management in STEM Education had obtained as much creative dimension equal to 82.62 %. From the result of research found that, students are categorized as very good when passing through the learning management in STEM Education through the concept of water pollution
 Keyword Creativity , Learning Management, STEM Education
 กลุ่มของบทความ หลักสูตรและการสอน
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563