บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การสร้างมูลค่าเพิ่มของอาหารพื้นถิ่นพิษณุโลกด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Creating value added of Phitsanulok indigenous foods by designing packaging |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
ผศ.ดร.พรดรัล จุลกัลป์ , อ.กนกวรรณ พรมจีน, อ.วรลักษณ์ สุริวงษ์, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบ (กราฟิก) บรรจุภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นพิษณุโลกเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม ผลการสำรวจบรรจุภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นพบว่า บรรจุภัณฑ์อาหารคาวส่วนใหญ่เป็นถุงพลาสติกชนิดโพลีแอททิลีน (ถุงร้อน) ในขณะที่บรรจุภัณฑ์อาหารหวานและอาหารว่างมีความหลากหลายทั้งบรรจุภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ (ใบตอง) ถุงพลาสติก กล่องพลาสติกแบบมีฝาปิด กล่องพลาสติกแข็งขึ้นรูป และบรรจุภัณฑ์จากโฟม ผลการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นจำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ แกงหยวกสำเร็จรูปบรรจุถุงรีทอร์ตเพาท์ น้ำตาลสดพร้อมดื่มพาสเจอไรด์ กล้วยตากบรรจุถุงฟอยด์ และชุดเมี่ยงคำ แสดงให้เห็นว่าการออกแบบบรรจุภัณฑ์มีส่วนให้ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นและมีผลต่อการยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะทำให้มั่นใจว่าจะได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย ทันสมัย และตรงตามความต้องการ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
อาหารพื้นถิ่น บรรจุภัณฑ์อาหาร มูลค่าเพิ่ม |
Abstract |
The objective of this research is to design (graphic) Phitsanulok indigenous foods packaging for creating added value. The results of indigenous foods packaging survey found that most of the savory food packaging is polyethylene plastic bags (hot bags), while the packaging of sugary foods and snacks is diverse, including packaging from natural materials (banana leaves), plastic bags, plastic boxes with lid rigid, plastic box and foam packaging. Graphic design results on indigenous foods packaging, consisting of 4 products, including banana curry in retort pouch bags, ready to drink fresh sugar, dry banana packed in foil and Miang Kham set shown that the package design contributes to the satisfaction of consumers in indigenous food products and has a greater impact on consumer acceptance. Because it makes sure to consume products that are safe, modern and meet the needs.
|
Keyword |
indigenous foods, food packaging, value added |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|