บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
อัตราความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนิสิตในมหาวิทยาลัย จังหวัดพะเยา |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Prevalence rate and helmet wearing behavior among undergraduate students, Phayao Province |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
ผศ.ดร.ทวีวรรณ ศรีสุขคำ , ผศ.ดร.เทียนทอง ต๊ะแก้ว, อ.อรทัย เกตุขาว, อ.พญ.กิตติยา ไทยธวัช, อ.นพ.พีรณัฐ ผลวิชา, อ.สุนันทา ตั้งนิติพงศ์, อ.สุรางคนา ไชยรินคำ, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยของนิสิตในมหาวิทยาลัย จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีจำนวน 400 คน ในมหาวิทยาลัยพะเยา สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามดำเนินการเก็บในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 สถิติวิเคราะห์เป็นสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคว์สแคว์ ค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ Phi(φ) และสหสัมพันธ์อันดับของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า อัตราชุกของการสวมหมวกนิรภัยร้อยละ 93.0 ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสวมหมวกนิรภัยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมีจำนวน 6 ตัวแปรได้แก่ 1) ความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงคือ มาตรการบังคับการสวมหมวกนิรภัย (r=0.750) 2) ความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางคือทัศนคติต่อการสวมหมวกนิรภัย(r=0.439) ความสัมพันธ์ระดับปานกลางคือความเป็นเจ้าของหมวกนิรภัย ( p-value< 0.001, φ=0.429) 3) ความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำได้แก่ จำนวนครั้งของการประสบอุบัติเหตุ แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวก (r=0.172; r=0.133) ความสัมพันธ์ระดับต่ำคือ การมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ (p-value< 0.001, φ=0.203) ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ในการกำหนดมาตรการและจัดกิจกรรมเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและการสูญเสียชีวิต ของนิสิตในพื้นที่ศึกษาและพื้นที่อื่นที่มีลักษณะทางประชากรคล้ายคลึงกัน
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
อัตราชุก ,พฤติกรรมสวมหมวกนิรภัย ,นิสิตมหาวิทยาลัย |
Abstract |
The analytical research, cross-sectional design aimed to study prevalence rate and explore the associated factors of helmet wearing behavior among undergraduate students, Phayao Province Sample were four hundred undergraduate students at a University of Phayao, selected by purposive sampling as inclusion criteria. Instruments was questionnaires which collected during February, 2020. Data were analyzed by descriptive statistics Chi-square test, Phi(φ) coefficient and Spearman rank coefficient
The research showed that prevalence rate of helmet wearing behavior was 93.0 %. The statistics revealed that 6independent variables had influenced the helmet wearing behavior among samples. They are the following: (1) a positive strong variable ; enforcement of the helmet wearing (r=0.750), (2) an intermediated positive variable; attitude on the helmet wearing(r=0.439); an intermediated variable helmet owner (p-value< 0.001, φ=0.429), (3) low positive variables; number of accidents(r=0.172) ; social support (r=0.133); low variables; license motercylcle p-value< 0.001, φ=0.203). The research should be taken set up measurement and activities for the area study and the similar as this study.
|
Keyword |
prevalence rate ,helmet wearing behavior,undergraduate students |
กลุ่มของบทความ |
การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|