บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Factors related to the occurrence of complications in elderly with hip fractures
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวเยาวลักษณ์ สงวนพานิช ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive design) แบบย้อนหลัง (Retrospective study) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านโรค และปัจจัยด้านการรักษากับการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ป่วยสูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก ที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลนครปฐม ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561 รวมจำนวน 180 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยและการดูแลรักษา  วิเคราะห์ข้อมูล ปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านโรค และปัจจัยด้านการรักษา การเกิดภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านผู้ป่วย ปัจจัยด้านโรค และปัจจัยด้านการรักษา กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงบรรยาย Chi-Square โดยกำหนดความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ดังนี้  ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ 48 ราย (ร้อยละ 26.67)  มีภาวะสับสน 40 ราย (ร้อยละ 22.22)  เกิดแผลกดทับ 12 ราย (ร้อยละ 6.67)  ปอดอักเสบ 11 ราย (ร้อยละ 6.11)  เส้นเลือดอุดตัน 3 ราย (ร้อยละ 1.67)  และเสียชีวิตภายใน 1 ปีหลังกระดูกสะโพกหัก 37 ราย (ร้อยละ 20.56) ปัจจัยด้านบุคคล เพศ มีความสัมพันธ์กับการเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ  อายุ และดัชนีมวลกาย (BMI) มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05)(P=0.05) ปัจจัยด้านโรค จำนวนโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลกดทับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05)(P=0.05)(ปัจจัยด้านการรักษา ชนิดของการรักษา (ผ่าตัด - ไม่ผ่าตัด) และความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย (Ambulation) มีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตภายใน 1 ปีหลังกระดูกหัก ระยะเวลารอผ่าตัด มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และการเกิดเส้นเลือดอุดตัน (Thromboembolism) และชนิดของการระงับความรู้สึกระหว่างผ่าตัด มีความสัมพันธ์กับการเกิดปอดอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.05)(P=0.05)จากผลการศึกษาให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการพยาบาลโดยนำผลการวิจัยมากำหนดการประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก ร่วมกับการจัดทำแนวทางการเฝ้าระวัง และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิต  
 คำสำคัญภาษาไทย ภาวะแทรกซ้อน ผู้สูงอายุ กระดูกสะโพกหัก
 Abstract
This retrospective study aimed to examine the association between patient, disease & treatment factors and complications in elderly patients with hip fractures By collecting data from electronic medical records of elderly patients with hip fractures Who were treated as inpatients at Nakhon Pathom Hospital Between July 2017 and June 2018, a total of 180 patients. Data were collected using patient data records and Care. Data analysis Patient factors Disease factors treatment factors and occurrence of complications analyzed by descriptive statistics such as frequency distribution, percentage, and the relationship between Patient factors Disease factors And the factors of treatment With the occurrence of complications Analyzed with Chi-Square descriptive statistics, with significance at 0.05 level.
The results showed that Patients with complications are as follows: 48 urinary tract infections (26.67%), Delirium 40 cases (22.22%), pressure ulcers 12 cases (6.67%), pneumonia 11 cases (6.11%) veins Thrombosis (3 cases (1.67%) and died within 1 year after hip fracture 37 cases (20.56%).  Personal factors, sex were associated with urinary tract infection, age, and body mass index (BMI) were significantly related to pneumonia. Disease factors Number of chronic diseases There is a statistically significant relationship with pressure ulcers Treatment factors The type of treatment (surgery - non-surgical) and the ability to move the body (Ambulation) associated with death within 1 year after fractures. Surgical waiting period Is associated with urinary tract infections And the occurrence of embolism (Thromboembolism) and the type of anesthesia during surgery Is associated with the occurrence of pneumonia Statistical significance. The results of the study provide suggestions for improving the quality of nursing practice by using the results of the study to determine the risk factors for various complications in the elderly with hip fractures. Together with creating surveillance guidelines And prevent complications in the risk group appropriately To reduce the incidence of complications and death
 Keyword Complication, Elderly, Hip fracture
 กลุ่มของบทความ การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563