บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การศึกษาเปรียบเทียบผลการพยาบาลผู้ป่วย Severe ARDS ระหว่างการรักษาพยาบาลแบบท่านอนหงายและแบบท่านอนคว่ำ : กรณีศึกษา |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Results to compare the outcomes of medical treatment for Severe ARDS patients. During medical treatment Supine and Prone position : Case study |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวสุปรีดา มหาสุข , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยมีภาวะARDS พบว่าเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 50 ปัจจุบันการรักษาพยาบาลมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้แนวทางการรักษาพยาบาลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้นเพื่อให้แนวทางการพยาบาลเป็นไปในแนวทางเดียวกับการรักษา วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลจากการรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะ Severe ARDS ที่ได้รับการรักษาพยาบาลแบบท่านอนหงายและที่ได้รับการรักษาพยาบาลแบบท่านอนคว่ำ กรณีศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย 1)ปัจจัยที่ทำให้เกิด ARDS รายที่ 1 แพทย์วินิจฉัย Influenza A , Pneumonia รายที่ 2 แพทย์วินิจฉัย Status Epilepticus c Bacterial Pneumonia (ABAUM MDR ) 2) อาการและอาการแสดงภาวะ ARDS พบว่ากรณีศึกษาทั้ง 2 ราย หายใจหอบเหนื่อย O2 sat รายที่ 1 O2 sat 95-99%ค่อนข้างดี อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่รายที่ 2 ผล O2sat 43-91% ผลค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์ รายที่ 1 PCO2 30-45 % อยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่รายที่ 2 PCO2 32-97 % ผู้ป่วยมีภาวะคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์สูง 3) แนวทางการรักษาพบว่ารายที่ 2 ใช้เครื่องช่วยหายใจตั้ง FiO2 0.6-1.0 , PEEP 18 cm.H2O แสดงถึงการพร่องออกซิเจนในเลือดระดับรุนแรง PEEP 14 cm.H2O แสดงถึงการพร่องออกซิเจนในเลือดระดับรุนแรงปานกลาง 4)การเกิดแผลกดทับ รายที่ 1จัดท่านอนหงายไม่พบแผลกดทับเนื่องจากมีการพลิกคะแคงตัวให้ทุก 2 ชม.รายที่ 2 จัดท่านอนคว่ำพบรอบแดงๆบริเวณคอเล็กน้อย 5) การใช้อุปกรณ์/เครื่องมือทางการแพทย์และการเฝ้าระวัง รายที่ 1 การเฝ้าระวังท่อช่วยหายใจโดยการติดพลาสเตอร์และใช้เทปผูกยึด การติด Monitor เพื่อติดตามสัญญาณชีพ โดยติดอุปกรณ์ได้ตามปกติ รายที่ 2 การเฝ้าระวังท่อช่วยหายใจโดยการติดพลาสเตอร์และใช้เทปผูกยึดแต่ต้องระวังเพิ่มเนื่องจากนอนคว่ำหน้าอาจเกิดการหักพับงอของท่อช่วยหายใจ การติด Monitor เพื่อติดตามสัญญาณชีพติดอุปกรณ์แตกต่างจากปกติ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การพยาบาลARDS , การพยาบาลท่านอนคว่ำ,การพยาบาลท่านอนหงาย |
Abstract |
Patients diagnosed with ARDS have found that more than 50% of deaths are present. Treatment is ongoing, resulting in changes in treatment methods, such as treating patients with sleep posture. Inverted, which corresponds to the pathology of the patient Therefore, in order to be in line with the treatment guidelines, the objective is to study the results of treatment for patients with Severe ARDS who receive supine position care and receive prone position care. A comparative case study of nursing for both patients. 1) ARDS Factors 1 Doctor diagnosed with Influenza A, Pneumonia, 2nd, Status Epilepticus c Bacterial Pneumonia (ABAUM MDR). 2) Signs and symptoms of ARDS found that the case study in both cases, wheezing, O2 sat 1, O2 sat 95-99% is quite good. O2sat 43-91% was lower than the 1st PCO2 30-45% in the normal range but the 2nd PCO2 32-97% patients with high carbon dioxide condition 3) Treatment guidelines found that the second case, ventilator with FiO2 0.6-1.0, PEEP 18 cm.H2O indicates severe oxygen depletion. PEEP 14 cm.H2O indicates moderate severity of oxygen in the blood. 4) The formation of pressure sores. Number 1, supine position. No pressure sores were found due to the overturning of the body. Every 2 hours. Found around the red area around the neck. 5) Use of medical equipment / tools and monitoring no.1, monitoring ventilation by attaching plaster and using tape. Monitor installation to monitor vital signs Attaching the device as normal, the second is to monitor the airway by attaching the plaster and use tape to fasten it, but be extra careful as sleeping face down may cause the ventilation tube to become bent. Monitoring vital signs attached to a different device, such as the EKG Monitor. Must be switched to the back of the patient while lying prone.
|
Keyword |
ARDS Nursing, Prone Nursing |
กลุ่มของบทความ |
การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิชาการ |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|