บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา กระบวนการผลิตคอนกรีตผสมพลาสติกเบกกาไลท์
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Carbon and Water Footprints Assessment Case Study : Bakelite plastic-mixed concrete production process
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวชาลิสา ผลเกิด ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณการเกิดคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมพลาสติกเบกกาไลท์เพื่อทดแทนมวลรวมหยาบร้อยละ 20 และเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกระบวนการผลิตคอนกรีตทั่วไปและของกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมพลาสติกเบกกาไลท์ ปริมาณ 1 m3 ที่ใช้สำหรับการเทพื้น โดยประเมินตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบที่ระยะทาง 1,5,15และ 30 กิโลเมตร มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่ากับ 0.4052 ,2.0258 ,6.0775 ,12.1551 kgCO2e ตามลำดับจนถึงกระบวนการผลิต มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกระบวนการผลิตคอนกรีตผสมพลาสติกเบกกาไลท์เท่ากับ  558.3382 kgCO2e และขั้นตอนการขนส่งคอนกรีตไปยังจุดหมายที่ระยะทาง1,5,15 และ 30 กิโลเมตร มีค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์เท่ากับคอนกรีตทั่วไป เนื่องจากนำหนักคอนกรีตเท่ากัน สำหรับการหาค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์คำนวณในส่วนของการผลิตเท่านั้น ซึ่งในการผลิตคอนกรีต
1 m3 ใช้น้ำ 200 ลิตร เท่ากับการผลิตคอนกรีตทั่วไป สำหรับการลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ควรศึกษาประเภทขยะพลาสติกชนิดอื่นๆเพิ่มเติมและการใช้พลังงานทดแทนต่างๆเพื่อลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ส่วนค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ควรประเมินค่า Green Water Footprint และ Gray Water Footprint เพื่อให้ครอบคลุมข้อมูลการใช้น้ำทั้งหมดเพื่อหาแนวทางการลดปริมาณการใช้น้ำและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
 คำสำคัญภาษาไทย คาร์บอนฟุตพริ้นท์,วอเตอร์ฟุตพริ้นท์ พลาสติกเบกกาไลท์
 Abstract
Abstract

This research is quantitative research with the objective of carbon footprint and water footprint of the Bakelite plastic-mixed concrete to replace the coarse aggregate of 20% and compare the amount of carbon footprint and water footprint of the production process General concrete and concrete mixed with plastic Bakelite Volume of 1 cubic meter used for pouring the floor. Which assesses from the stage of raw material acquisition to production process at distances of 1,5,15 and 30 km has a carbon footprint of 0.4052, 2.0258, 6.0775, 12.1551 kgCO2e Respectively, to the production process. With greenhouse gas emission equal to 558.3382 kgCO2e, And the process of delivering concrete to destinations at distances 1,5,15 and 30 km. Have the same carbon footprint as the same concrete weight For the determination of the water footprint calculated In the production of 1 cubic meter of concrete, use 200 liter of water equal to the production of general concrete . For carbon footprint reduction, Should study other types of plastics and the use of alternative energy to reduce the use of additional electrical energy. For the evaluation of water footprint , Should study Green Water Footprint and Gray Water Footprint should be evaluated to cover all water use data in order to find ways to reduce water use and wastewater renovation.
 Keyword Carbon Footprint. Water Footprint. Bakelite plastic
 กลุ่มของบทความ สาขาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563