บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย สภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) THE Human Resource Management and Development Guidelines of Principals under Buriram Provicial Office of The Non – Formal and Informal Education
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางประพิม นภวงศ์ ณ อยุธยา , อ.ดร.โกวิท วัชรินทรางกูร, อ.ดร.กิติวัชร ถ้วยงาม,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 205 คนใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ารทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
 คำสำคัญภาษาไทย การบริหารงานบุคคล, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดบุรีรัมย์
 Abstract
The purpose of this research was 1) to study human resource management of principals under Buriram provincial office of the non-formal and informal education, and 2) to compare teachers’ perceptions of principals human resource management classified by work experiences and the sizes of schools. The samples in this research were 205 teachers selected by simple random sampling. The instruments used to collect data were questionnaires. The reliability is 0.988. The statistics used for data analysis are percentage, mean, standard deviation, t-test, and analysis of variance (ANOVA). The research findings revealed that 1) the overall teachers’ perceptions of principals human resource management were at a high level. 2) the teachers’ perceptions of human resource management of principals classified by work experiences and the sizes of schools were not statistically significant different.
 Keyword Human Resource Management, Principal, Buriram provincial office of the non-formal and informal education
 กลุ่มของบทความ บริหารการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563