บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
กระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Recruitment and selection process of Sugar industry in Ratchaburi Province |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
อ.ดร.จุฑามาส ศรีชมภู , อ.ดร.ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล, นางสาวนัฐกานต์ ทองสุขมาก, นางสาวเติมทรัพย์ เพชรป้อม, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรของอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษากระบวนการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรของอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในอุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี จำนวน 197 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการสรรหาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 (S.D.= 0.32) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 (S.D.= 0.31) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับการสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การสรรหาบุคลากร การคัดเลือกบุคลากร อุตสาหกรรมน้ำตาล |
Abstract |
The purpose of this research were: 1. To study personal factors of Sugar industry in Ratchaburi Province 2. To study the recruitment and selection process of Sugar industry in Ratchaburi Province 3. To study the Correlation between the personal factors with the recruitment and selection process. This study was a quantitative research. the tools used in this research were questionnaires,. Quantitative data analysis were used Statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. The results found that the Recruitment process was at high level. x ̅4.27 (S.D.= 0.32), The Selection process was at high level. x̅ 4.28 (S.D.= 0.31) and Personal factors are related to recruitment and selection process with statistically significant at .01
|
Keyword |
Recruitment, Selection, Sugar industry |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|