บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ความสัมพันธ์การรับรู้ภาวะสุขภาพกับการยอมรับการตรวจคัดกรองเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยง |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Relationship between Health Status Perception and Acceptability of Diabetes Screening Test of Risk Population |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวปิยะวรรณ จันตรี , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
เบาหวานในประเทศไทยมีความชุกในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 ในปี พ.ศ. 2552 เป็น ร้อยละ 8.9 ในปี พ.ศ. 2557 (วิชัย เอกพลากร: 2557) แต่มีเพียง 2.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 57 ที่ได้รับการวินิจฉัย (Novo Nordisk: 2560) การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการตรวจคัดกรองเบาหวานในกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง สมมติฐานการวิจัยคือการรับรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพมีความสัมพันธ์กับการยอมรับการตรวจคัดกรองเบาหวานในกลุ่มประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยใช้แบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพ ของมาวิลล์และเฮอร์ตา (Maville and Huerta: 2002) กลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามด้วยตนเองในเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความตรงตามเนื้อหา (Content Validity) และความเที่ยง (Reliability) จากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยแจกแจงเชิงปริมาณ ทดสอบหาการแจกแจง ค่าความถี่ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์หาความสัมพันธ์การรับรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ และการยอมรับการตรวจคัดกรองเบาหวานในประชากรกลุ่มเสี่ยง โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient)
ผลการวิจัยพบว่าการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกันโรค และการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมป้องกันโรคของประชากรกลุ่มเสี่ยง มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) กับการยอมรับการตรวจคัดกรองเบาหวาน จากผลการศึกษาครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการส่งเสริมด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับเบาหวานที่ถูกต้อง อธิบายขั้นตอนการคัดกรองเบาหวาน เพื่อลดความกลัวของประชาชน สร้างความเข้าใจ และความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการให้บริการคัดกรองเบาหวาน ร่วมหาแนวทางในการลดปัญหาและอุปสรรคในการเข้ารับบริการ ส่งเสริมให้ประชาชนมีการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองที่ถูกต้องและเหมาะสม และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อลดการเกิดเบาหวานรายใหม่
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การรับรู้ภาวะสุขภาวะสุขภาพ,การยอมรับ,การตรวจคัดกรองเบาหวาน |
Abstract |
The prevalence of diabetes in Thailand over 15 years old increased from 6.9% in 2009 to 8.9% in 2014. (Wichai Aekplakorn: 2014). But only 2.7 million people, or 57% are diagnosed (Novo Nordisk: 2017). This research aimed to find the perception factors associated with the acceptability of diabetes screening test of risk population by using health belief patterns of Maville and Herta (Maville and Huerta: 2002). Samples are risk population over 15 years old. Self-administrated questionnaire was a tool to collect data. The questionnaire was tested for content validity and reliability. Data analyzed by using descriptive statistics; frequency, minimum, maximum, percentage, average and standard deviation.Inferential statistics, the Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient, was used to find relationships between health status perception and acceptability of diabetes screening test of risk population.
The results showed that susceptibility perception, severity perception, benefit perception, and barrier perception significantly related to acceptability of diabetes screening test of risk population by Pearson’ s Product Moment Correlation Coefficient.
Recommendations for the public health officials and related agencies are to provide appropriate diabetes knowledge and explain the process of diabetes screening test to reduce the fear of people at risk. The Public health officials should promote understanding and confidence to people at risk for diabetes screening test. The officials should find ways to reduce problems and barriers in using the screening service. The officials should help the risk population to perceive their health status appropriately and correctly in order to change health behavior and reduce the incidence of new diabetes cases.
|
Keyword |
Health status perception, Acceptability, Diabetes screening service |
กลุ่มของบทความ |
การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|