บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิกต่อความเข้าใจ มโนทัศน์พันธุกรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
INDUCTION LEARNING MANAGEMENT SUPPLEMENTED WITH GRAPHIC ORGANIZER UNDERSTANDING OF GENETIC CONCEPT OF GRADE 5 STUDENTS |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวณัฏฐณิชา ภูเวียงแก้ว , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรมและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง ในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรม และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนมโนทัศน์พันธุกรรม 7.25 คิดเป็นร้อยละ 20.14 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.88 คิดเป็นร้อยละ 52.43 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.25 คิดเป็นร้อยละ 25.69 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.63 คิดเป็นร้อยละ 54.51 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรมและความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง ในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวนนักเรียนทั้งหมด 16 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรม และ 3) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และ t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก ก่อนเรียนนักเรียนมีคะแนนมโนทัศน์พันธุกรรม 7.25 คิดเป็นร้อยละ 20.14 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.88 คิดเป็นร้อยละ 52.43 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยเสริมด้วยผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 9.25 คิดเป็นร้อยละ 25.69 และหลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 19.63 คิดเป็นร้อยละ 54.51 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย ผังกราฟิก ความเข้าใจมโนทัศน์พันธุกรรม การคิดวิเคราะห์ |
Abstract |
The purposes of this research were to study and compare understanding of of genetic concept and analytical thinking ability before and after learning by Induction learning management of grade 5 students. The sample consisted of 16 students who studied in the second semester of the academic year 2019 at a small size Primary school in the primary Education Service Area Office 3. They were selected by cluster random sampling technique. Research instruments included 1) 6 lesson plans of Induction learning management supplemented with graphic organizer 2) a genetic concept test; and 3) an analytical thinking ability test. The data were analyzed for mean, standard deviation, percentage and hypothesis test by t-test for dependent sample. The results indicated that: 1) the student mean scores before and after learning were 7.25 (20.14%) and 18.88 (52.43%), respectively, and the posttest mean scores were higher than the pretest at the level of statistical significance 0.01. 2) the student who learnt through Induction learning management supplemented with Graphic organizer has analytical thinking ability pretest mean scores 9.25 (25.69%) after learning their posttest mean score 19.63 (54.51%) the result showed that posttest mean score were higher than the pretest at the level of statistical significance 0.01.
|
Keyword |
Induction learning, Graphic organizer, understanding of genetic concept, analytical thinking. |
กลุ่มของบทความ |
วิจัยการศึกษาและงานประจำสู่งานวิจัย (R to R) |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|