บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ความสุขในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Happiness of Staff at a Community Hospital
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสุทธิสา จันทร์เพ็ง ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มประชากรทั้งหมดของบุคลากรที่โรงพยาบาลชุมชน จำนวน 122 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 ได้รับแบบสอบถามทั้งสิ้น 90 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 73.8   แบบสอบถามความสุขในการทำงานปรับจากเครื่องมือ Happinometer ซึ่งพัฒนาโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งในการวิจัยนี้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา (Descriptive statistics) ผลการศึกษาพบว่าจากแบบวัด Happinometer ที่แบ่งการวัดเป็น 9 มิติคือ1) มิติสุขภาพดี 2) มิติผ่อนคลายดี 3) มิติน้ำใจดี 4) มิติจิตวิญญาณดี 5) มิติครอบครัวดี 6) มิติสังคมดี 7) มิติใฝ่รู้ดี 8) มิติการเงินดี และ9) มิติการงานดีนั้น ความสุขในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมีความสุข ( = 71, S.D.= 6.39, Min – Max = 50 – 87) มิติที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดและอยู่ในระดับมีความสุขมาก (Very Happy) คือมิติที่ 5 ครอบครัวดี ซึ่งมีคะแนนค่าเฉลี่ย 87  จาก 100 คะแนน ซึ่งจากการศึกษาอาจสรุปได้ว่าครอบครัวมีความสำคัญต่อบุคลากรโรงพยาบาลชุมชนเป็นอย่างมากซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานในการให้บริการซึ่งอาจมีการศึกษาวิจัยในขั้นต่อไปได้ในอนาคต
 คำสำคัญภาษาไทย ความสุข,การวิจัยเชิงพรรณนา ,โรงพยาบาลชุมชน
 Abstract
This research is a descriptive study. The objective was to study the happiness level of all staff at a community hospital. The sample consisted of 122 population of a community hospital. Data were collected by using self-administered questionnaires. Data collection period was between March and April 2019. 90 questionnaires were received, or 73.8% response rate. The Questionnaire was Happinometer which was a tool developed by the Institute for Population and Social Research, Mahidol University. The questionnaire had Cronbach Reliability 0.78. The data was analyzed using descriptive statistics. The results showed that from the Happinometer, which has nine dimensions, namely 1) Healthy dimension 2) Relaxing dimension 3 A) Good kindness dimension 4) Good spirit dimension 5) Good family dimension 6) Good social dimension 7) Good knowledge dimension 8) Good financial dimension and 9) Good work dimension. Overall happiness is at high level ( = 71, SD = 6.39, Min - Max = 50 - 87). The fifth dimension, Good family dimension had the highest mean and was at a very happiness level. It had an average score of 87 out of 100. The study may conclude that family is very important to personnel at community hospital which may be a factor affecting hospital work performance. Further study may be conducted in the future.
 Keyword Happiness,Descriptive study,Community Hospital
 กลุ่มของบทความ วิทยาศาสตร์กายภาพ
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563