บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การออกแบบเครื่องประดับจากผ้าไททรงดำ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Design of Jewelry from Tai Song Dom Fabric |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นายเก่งกาจ ต้นทองคำ , นางสาวชญาณี บุญวงษ์, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ของงานวิจัย (1) ศึกษาลวดลายบนผืนผ้าของไททรงดำ (2) เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากลวดลายผ้าทอไททรงดำ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาลวดลายบนผืนผ้าของไททรงดำ รวมถึงสีที่กลุ่มไททรงดำใช้ย้อมผ้า เพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นเครื่องประดับ โดยยึดหลักของการนำความเข้าใจในบริบทต่าง ๆ ทั้งประวัติความเป็นมาสภาพแวดล้อมทางสังคม ประเพณี วัฒนธรรมความเป็นอยู่ต่าง ๆ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาเป็นฐานความรู้เชื่อมโยงสู่กระบวนการในการสร้างผลงาน
ผลการวิจัยพบว่ามีลายเดิมที่ปรากฏบนผืนผ้าทั้งหมด 34 ลาย ซึ่งประกอบไปด้วย ลายพันธุ์พฤกษาจำนวน 12 ลาย ลายสัตว์จำนวน 15 ลาย ลายเครื่องมือเครื่องใช้จำนวน 1 ลาย ลายสถานที่และสิ่งของจำนวน 4 ลาย และลายเบ็ดเตล็ดจำนวน 2 ลาย และสีที่ใช้ย้อมผ้านั้นมีทั้งหมด 7 สี ซึ่งประกอบไปด้วย สีดำ สีแดงเลือดหมู สีขาว สีส้ม สีเขียว สีเหลือง และสีคราม และในปัจจุบันมีชาวไททรงดำได้เพิ่มสีม่วง สีฟ้า สีชมพู มาอีกเพราะจะได้เข้ากับยุคสมัย และลวดลายใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยการนำเอาลายที่มีอยู่เดิมมาผสมประดิษฐ์ สร้างสรรค์เกิดเป็นลวดลายใหม่ขึ้นมา ซึ่งลายที่เกิดใหม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ที่ออกแบบแต่ละบุคคล
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ไททรงดำ ผ้าทอไททรงดำ เครื่องประดับ |
Abstract |
This research study is a qualitative research With the objective of research (1) Study the pattern on the fabric of Tai Song Dam. (2) in order to create jewelry products made from pattern Tai Song Dom Fabric. This study was to study the pattern on the fabric of Tai Song Dam. Including the color that the Tai Song Dam used to dye the fabric. In order to create an Jewelry. By adhering to the principles of understanding in context. Including history, social environment, tradition, Living culture. After that, the information obtained from the study will be used as a knowledge base and linked to the process of product creation.
The results showed that there were 34 patterns on top of the original fabric. Which consists of 12 plant pattern patterns, 15 animal patterns, Device pattern, amount 1 pattern, 4 patterns of places and things, And 2 miscellaneous patterns, And the color used to dye the fabric is a total of 7 colors, which include black, crimson, white, orange, green, yellow and indigo. And now Added purple, blue, pink again because it will match with the era And many new patterns occur By incorporating existing patterns into fabrications Created a new pattern The new pattern depends on the individual design.
|
Keyword |
Tai Song Dom, Tai Song Dom Fabric, Jewelry |
กลุ่มของบทความ |
สาขาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|