บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ระหัดวิดน้ำเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Local knowledge to Useful in Turbine baler for Agriculture and Conserve Natural Patao River ChaiyaPhum Province
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.ดร.ภารณีย์ นิลกร, อ.ดร.วราวุฒิ มหามิตร , อ.ดร.เบญจมาภรณ์ นาคามดี,
 บทคัดย่อภาษาไทย
ระหัดวิดน้ำเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นในการประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับการบริหารจัดการน้ำ โดยการขนย้าย ถ่ายเทน้ำจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่งหรือการชักน้ำหรือวิดน้ำขึ้นสู่พื้นที่สูงได้อย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเทคโนโลยีพื้นบ้านนี้กำลังสูญหายไปตามกาลเวลา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ระหัดวิดน้ำสำหรับประโยชน์ทางการเกษตรและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ รวมทั้งแนวทางในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาระหัดวิดน้ำ ในพื้นที่ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยกลุ่มประชากรหลักในการวิจัยประกอบด้วยปราชญ์ชาวบ้านหรือผู้ทรงภูมิ ได้แก่ นายชัยวัฒน์ วงษ์ชู และนักวิจัยไทบ้าน จำนวน 7 คน และเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน การดำเนินการวิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ(Qualitative Research) มีขั้นตอนดังนี้ 1) สำรวจ รวบรวม และศึกษาภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ระหัดวิดน้ำในพื้นที่ลำน้ำประทาว โดยแบบสำรวจ ภาพถ่ายร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญในพื้นที่ (Key informant) 2) การศึกษาแนวทางในการอนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาการใช้ประโยน์ระหัดวิดน้ำจากปราชญ์ชาวบ้าน และเยาวชนในชุมชน โดยใช้การสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา(Content Analysis)
               สามารถสรุปผลการวิจัยได้ ดังนี้ 1) ในพื้นที่ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ จำนวนทั้งสิ้น 17 ตัว ตลอดลำน้ำประทาว ระยะทาง 5 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาเสียว ตำบลบ้านเล่า และตำบลนาฝาย เป็นระหัดวิดน้ำขนาดใหญ่ สูงจากพื้นดิน 8 เมตร  โดยส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรทั้งสายน้ำลำน้ำปะทาว รวมถึงในด้านภูมิปัญญาที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การใช้ระหัดวิดน้ำในพื้นที่ลำน้ำประทาวเป็นภูมิปัญญาที่สืบสานมาตั้งแต่บรรพบุรุษผ่านการใช้งานมาแล้วกว่า 100 ปี ซึ่งการใช้ระหัดวิดน้ำมีความสำคัญต่อการทำนาในอดีตอย่างมาก เนื่องจากข้อจำกัดในด้านระยะทางและความต่างระดับของพื้นที่ รวมทั้งพื้นที่แปลงนาส่วนใหญ่เกษตรกรจะทำคันนากั้นไว้ ส่งผลให้ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้มากพอสำหรับการเพาะปลูกแล้ว เกษตรกรจะใช้ชงโลงหรือระหัดในการวิดน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก ซี่งจะอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงมากกว่าลำน้ำประทาว ระหัดวิดน้ำเป็นเทคโนโลยีพื้นบ้านที่ชาวบ้านประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้สามารถปรับใช้ตามลักษณะพื้นที่และสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น ตลอดจนองค์ความรู้ของช่างทำระหัด ได้แก่ ส่วนประกอบของระหัดวิดน้ำ ขั้นตอนการสร้างระหัดวิดน้ำ การติดตั้งระหัดวิดน้ำ อายุการใช้งานของระหัดวิดน้ำ งบประมาณการสร้างระหัดวิดน้ำ และที่สำคัญคือการสืบทอดสืบสานภูมิปัญญาระหัดวิดน้ำซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวิธีการดำเนินชีวิตของชาวบ้านสู่คนรุ่นหลังต่อไป 2) แนวทางในการอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาระหัดวิดน้ำ ในพื้นที่ลำน้ำปะทาว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วย 2.1) สร้างโมเดลหรือแบบจำลองระหัดวิดน้ำ โดยย่อขนาดลงตามสัดส่วน ออกแบบและตกแต่งให้มีความสวยงามแปลกใหม่และทันสมัย จากนั้นนำมาจำหน่ายเป็นของฝากที่ระลึกได้ ซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้กับคนในชุมชน 2.2) สร้างเว็บเพจศูนย์การเรียนรู้ระหัดวิดน้ำ ลำน้ำประทาว ซึ่งเป็นฐานข้อมูลออนไลน์ของจังหวัดชัยภูมิ เป็นแหล่งเรียนรู้แก่ผู้สนใจ และเป็นสื่อกลางในการจำหน่ายสินค้า 2.3) ส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์และอนุรักษ์ 2.4) นำเข้าสู่บทเรียนสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ และมีการเรียนการสอนในภาคปฎิบัติเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างแบบจำลองให้แก่เด็กนักเรียนในชุมชนซึ่งเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้านให้คงอยู่ต่อไป
 คำสำคัญภาษาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ระหัดวิดน้ำ ลำน้ำประทาว
 Abstract
A baler is a local wisdom in creating tools for water management by moving water from one place to another or continuously drawing up water to a high level. Nowadays, this folk technology is disappearing with time. The objective of this research is to study the wisdom of using the baler for agriculture and preserving the natural environment. Including guidelines for preserving and inheriting the wisdom of the baler In the Pathao River area, Mueang District, Chaiyaphum Province The main population of the research consists of villagers' sages or people who are Mr. Chaiwat Wongchoo and 7 Thai researchers and 30 young people participating in the activity. Qualitative research is conducted by the research method. There are steps as follows: 1) Survey, compile and study the wisdom of the utilization of the baler machine in the Prachatai River by taking a photo survey together with in-depth interviews from key informants. 2) Study of guidelines for conserve And carry on the wisdom of using the benefits of the baler from the villagers And youth in the community By using focus group discussions, data analysis using content analysis
            The research findings can be summarized as follows: 1) In the Pathao River, Muang District, Chaiyaphum Province A total of 17 units across the Prao River, a distance of 5 kilometers, covering the area of ​​Na Siao Subdistrict, Ban Lao Subdistrict and Na Fai Sub-district. 8 meters high from the ground, mainly used for agriculture, both streams and streams. Including the wisdom that is a source of learning about alternative energy and environment conservation The use of baler in the Prao River area is a tradition that has been passed down since the ancestors have been used for over 100 years. The use of baler is very important in the past farming. Due to limitations in distance and space level differences Including most rice plot areas, farmers will build a ridge to block Resulting in not being able to store enough water for cultivation Farmers will use to show off or blow the water into the farm area. Which is located in an area that is higher than the Prao River Baler pump is a local technology that local people have invented so that it can be adapted according to local characteristics and local environment. As well as the knowledge of the turbine maker, including components of the turbine baler The process of creating a baler Installation of the baler wing The lifetime of the baler Budget for building baler baler And the most important is the inheritance of the wisdom of the baler, which has changed according to the way of life of the villagers to the next generations. In the Pathao River area, Muang District, Chaiyaphum Province, consisting of 2.1) create a model or model of the turbine baler By scaling down proportionally Designed and decorated to be beautiful, exotic and modern Then can be sold as souvenirs Which can increase income for people in the community. 2.2) Create a webpage of the Prawat River Basin Learning Center, an online database of Chaiyaphum province. Is a source of learning for those interested And is a medium for selling products. 2.3) Promote as an experience and conservation tourist attraction. 2.4) Bring lessons for local schools. And teaching and learning in the practice to promote the modeling skills for students in the community, which is to carry on and preserve the local wisdom.
 Keyword local knowledge, turbine, river baler
 กลุ่มของบทความ สาขาการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่น
 รูปแบบการนำเสนอ Poster
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563