บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลของบริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) A Factor Analysis of Digital Organizational Culture Characteristics for PTT Digital Solutions Company Limited
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นายภานุรุจ คงศิริวัฒนา , รศ.ดร.ชมสุภัค ครุฑกะ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล (2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล และ (3) เพื่อยืนยันองค์ประกอบคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล ของ บริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ พนักงานบริษัท พีทีที ดิจิตอล โซลูชั่น จำกัด จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.988 สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้วยวิธีสกัดองค์ประกอบหลักและหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉาก และสถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโดยใช้โปรแกรม AMOS for student ผลการวิจัยพบว่า
1. กลุ่มตัวอย่างพนักงานมีการรับรู้คุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลส่วนใหญ่ในระดับระดับปานกลาง และมีการรับรู้ในระดับมาก จำนวน 10 คุณลักษณะ 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) การจัดจ้างบุคลากรภายนอกหรือผู้รับจ้างอิสระ (2) ทักษะการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสารและการทำงาน (3) ค่านิยมให้ความสำคัญกับการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ  ทั้งนี้ พนักงานแต่ละกลุ่มมีการรับรู้คุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลส่วนใหญ่อยู่ในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน
2. องค์ประกอบคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล มี 9 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 65 ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบระหว่าง .41-.81 โดยองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกันอธิบายคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล คิดเป็นร้อยละ 69.15 มีองค์ประกอบเรียงตามลำดับน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) รูปแบบหรือสไตล์การทำงานสมัยใหม่ (2) กลยุทธ์สมัยใหม่ (3) ค่านิยมร่วม (4) ระบบสมัยใหม่ (5) ทักษะดิจิทัล (6) การพัฒนาบุคลากร (7) โครงสร้างการทำงานสมัยใหม่ (8) โครงสร้างการบริหารสมัยใหม่ (9) การจัดการบุคลากรที่มีความยืดหยุ่น ทั้งนี้ โมเดลองค์ประกอบคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
3. ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันคุณลักษณะวัฒนธรรมองค์กรดิจิทัล พบว่า โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองหลังปรับโมเดล มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square เท่ากับ 3254.63 ค่า df เท่ากับ 1927 ค่า p value เท่ากับ 0.00 ค่า Chi-square/df เท่ากับ 1.69 ค่า GFI เท่ากับ 0.80 ค่า CFI เท่ากับ 0.94 ค่า RMR เท่ากับ 0.04 และ RMSEA เท่ากับ 0.04
 คำสำคัญภาษาไทย การวิเคราะห์องค์ประกอบ ,วัฒนธรรมองค์กร,องค์กรดิจิทัล
 Abstract
The objective of this research is to (1) study the characteristics of digital corporate culture of PTT Digital Solutions Company Limited (2) to analyze the factor of digital organizational culture characteristics of PTT Digital Solutions Company Limited and (3) to confirm the factor of digital organizational culture characteristics of PTT Digital Solutions Company Limited. The sample group in this research is 400 employees of PTT Digital Solution Company Limited. The instrument in this research is the questionnaire on digital organizational culture characteristics with confidence equal to 0.988. The statistics for data analysis are the descriptive statistics such as frequency, percentage, arithmetic mean, and standard deviation , the exploratory factor analysis (EFA) by using principal factor analysis and orthogonal rotation of axes, and the confirmatory factor analysis (CFA) by using AMOS (student version) statistical program. The research results are as follows
1. The sample group of employees perceived most of the characteristics of digital organizational culture at moderate level and high level. There are 10 characteristics with high level ranked by average from high to low as follows: (1) Outsourcing or freelancing is part of the workforce (2) Information technology literacy and communication skills (3) Value in self learning and self development (4) Self-service system (5) Value in customer experience and customer satisfaction (6) Skills in good service and customer understanding (7) Self-learning skills (8) Skills in collaboration with diversified people (9) Skills in communication and collaboration with other people (10) Strategy that focuses on quality products and services development that meet customer demand. Furthermore, the sample of each group of employees is perceived at the same or similar level.
2. Digital organizational culture characteristics can be extract to 9 factors that described by 65 characteristics with a weight value .41 - .81. All factors can explain the characteristics of digital organizational culture 69.15 percent. It consists of 9 factors as follows: (1) Modern style (2) Modern strategy (3) Shared value (4) Modern system (5) Digital skills (6) Staff development (7) Modern functional structure (8) Modern management structure (9) Flexible staff.
3. The results from second-ordered confirmatory factor analysis of the digital organizational culture show that the adjusted measurement model consistent with the empirical data with Chi-square =3254.63, df =1927, p value =0.00, Chi-square / df =1.6, GFI =0.80, CFI =0.94, RMR =0.04, and RMSEA =0.04.
 Keyword Factor Analysis, Organizational Culture, Digital Enterprise
 กลุ่มของบทความ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563