บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การดูแลสุขภาวะแบบองค์รวมของผู้สูงอายุในชุมชนตามแนวคิดพฤฒพลัง
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Holistic health care for elders in community based on the concept of active ageing
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นายกมลภู ถนอมสัตย์, นางสาวศุภธิดา จันทร์บุรี ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
         ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านอารมณ์ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในสังคม ส่งผลให้ผู้สูงอายุเกิดความเจ็บป่วยได้ง่ายกว่าประชากรในกลุ่มอายุอื่น ๆ ดังนั้นผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม  กล่าวคือ การดูแลภาวะสุขภาพที่ครบทุกองค์ประกอบในทุกมิติของบุคคล ได้แก่ กาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ แบบบูรณาการ การนำแนวคิดพฤฒพลังซึ่งเป็นกระบวนการสร้างโอกาสช่วยให้กายภาพ สังคม จิตใจ การมีส่วนร่วมจากครอบครัว และสังคมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตดีขึ้น การศึกษานี้มีจุดมุ่งหมายในการสังเคราะห์แนวทางการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนแบบองค์รวมในทุกมิติที่สอดคล้องตามองค์ประกอบเสาหลักด้านสุขภาพของแนวคิดสภาวะพฤฒพลังซึ่งมีองค์ประกอบ 3 ด้านได้แก่ 1)ด้านสุขภาพโดยการประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ สุขภาพของตนเอง สุขภาวะทางจิต ความพิการ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมประจำพื้นฐาน ข้อจำกัดของร่างกาย พฤติกรรมการออกกำลังกาย  ในการปฏิบัติกิจกรรมประจำวันที่ซับซ้อน   การมองเห็นและการได้ยิน 2) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในชุมชน และ 3) การส่งเสริมให้มีความมั่นคงหรือการมีหลักประกันในชีวิตอีกด้วย เพื่อพัฒนาให้ผู้สูงอายุพึ่งตนเองได้มีศักยภาพ และเป็นผู้ที่ยังสามารถทำประโยชน์แก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
 คำสำคัญภาษาไทย ผู้สูงอายุ ,ชุมชน ,การดูแลแบบองค์รวม ,แนวคิดพฤฒพลัง
 Abstract
         The elders have changed physically, mentally, emotionally and participation in society. As a result, the elders have possibilities to ill than other age groups. Therefore, the elderly should receive holistic health care—physical, mental, social and mental health care should be integrated. The active aging concept developed by World Health Organization is a process of creating opportunities for physical, social, mental, participation from families and social support in order to enhance a better quality of life among elders in the community. The objective of this study is to synthesize a holistic approach to caring for the elderly in all dimensions in accordance with the health pillars of the concept of energetic status, which consists of 3 components: 1) health care by evaluating different components a follows: self-rated health status, psychological well-being, disability, activities of daily living, functional limitation, exercise behavior, instrumental activity of daily living, vision and hearing, 2) promoting community participation and 3) promoting stability or security in life. This concept is a crucial concept that develops the elderly to be self-reliant with potential and who are still able to benefit themselves, their family, and society.
 
 Keyword elderly,community,holistic health care,active aging
 กลุ่มของบทความ การพยาบาลและการสาธารณสุขที่ทันสมัยในยุคปัญญาประดิษฐ์เพื่อขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพสังคม
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิชาการ
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563