บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
แนวทางสนับสนุนการเข้าร่วมโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ กรณีศึกษาธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Guidelines for supporting the participation in the project of creating heirs to replace elderly borrowers. Case study for bank of agriculture and agricultural cooperatives. |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวพระนาง สุรชิต , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการสร้างทายาทเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าร่วมโครงการการสร้างทายาทดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ เพื่อเป็นการรักษารากฐานของลูกค้าและเพิ่มศักยภาพการประกอบอาชีพการเกษตรของลูกค้าส่งผลต่อความยั่งยืนของธนาคาร และหาแนวทางในการเพิ่มจำนวนทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 200 ชุด และจากการสัมภาษณ์ทายาทผู้สูงอายุ จำนวน 20 คน นำมาวิเคราะห์ร้อยละและความถี่ จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีผังก้างปลา ทำให้ทราบปัญหา คือ ทายาทไม่ทราบว่ามีโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ ทัศนคติต่อโครงการสร้างทายาททดแทนลูกค้าผู้กู้สูงอายุ เข้าใจในขั้นตอนการสมัครเข้าโครงการฯ และเข้าใจในคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการฯ ค่อนข้างปานกลาง ทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุไม่สมัครใจเข้าร่วมโครงการฯ เนื่องจากทายาทมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ส่วนกรณีทายาทสมัครใจแต่ยังไม่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากทายาทขาดคุณสมบัติการเป็นลูกค้า ธ.ก.ส. เช่น อาชีพหลักไม่ใช่เกษตรกร จากการสำรวจและสัมภาษณ์ทายาทลูกค้าผู้กู้สูงอายุ บิดามารดาสามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งได้กำหนดแนวทางแก้ไขได้ จำนวน 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยธนาคารทำการประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าทราบถึงโครงการนี้ แนวทางที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหา โดยการสนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เมื่อเข้าร่วมโครงการและเป็นทายาทแทนผู้สูงอายุ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
โครงการ,ผู้กู้สูงอายุ,ทัศนคติ,ทายาททดแทน |
Abstract |
The purpose of this research was to study causes and factors of farm heirs’ participation in the Farm Succession Project. This Project aims to increase agriculturalists’ capability and to retain the customer base of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives. The project intends to create more agriculturalists’ heir to conduct farm business in replacement of elderly agricultural borrowers. This could contribute the benefit of achieving sustainability of Thailand Agricultural sector and of BAAC as well. Primary data were collected using questionnaire with 200 sample size and by interviewing of 20 elderly agriculturalists’ heirs. The analysis was done based on quantitative analysis method which is in form of in percentage and frequency. Thereafter these data was applied into Fishbone Diagram Theory to illustrate the existing problems. The result of this study reveals that causes of not effectively join the project due to 1) Unrealized the project existence 2) Wrong Attitude on the Project 3) Lack of Understanding the Project Process Participation 4) Insufficient fund for live up. Some sample had willingness to join the project but declined due to disqualification. According to the surveys and interviews of the heirs, it shows that the elderly agriculturalists have capacity to repay debt. Hence, to accelerate more awareness of the project,
there are two solution offered. Firstly, the bank should emphasize more on Public Relation (PR) or any advertising media. Secondly, the bank should offer more incentive in terms of special loan interest rate.
|
Keyword |
Project,Elderly Agricultural Borrowers,Attitude,Heirs |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|