บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลกระทบของการเพิ่มภาษีบุหรี่ต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน กรณีศึกษานิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The impact of cigarette tax increases on youth’s smoking A Case Study of Student in Kasetsart University |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นายปฎิญญา รังสิยานนท์ , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนจากการขึ้นภาษีบุหรี่ ปี 2560
รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลดลงของการสูบบุหรี่ในเยาวชนจากการขึ้นภาษีดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นิสิตระดับชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าอัตราส่วนร้อยละ และแบบจำลอง Binary Logistics Regression ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ที่ลดลงของเยาวชนจากการขึ้นภาษีบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ลักษณะการพักอาศัย ยี่ห้อบุหรี่ ความถี่ในการสูบบุหรี่ การเปลี่ยนแปลงยี่ห้อหรือประเภทบุหรี่ หลังจากเพิ่มภาษีบุหรี่และทัศนคติต่อการขึ้นราคาบุหรี่ในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่ มีความสัมพันธ์เชิงบวก นั่นคือ นิสิตที่ไม่ได้พักอาศัยกับพ่อแม่ มีการสูบบุหรี่ยี่ห้อนำเข้า สูบบุหรี่เป็นครั้งคราว หากนิสิตมีการเปลี่ยนแปลงประเภทหรือยี่ห้อบุหรี่หลังจากเพิ่มภาษีบุหรี่และมีทัศนคติต่อการขึ้นราคาบุหรี่ในเรื่องของการลดค่าใช้จ่ายในการสูบบุหรี่ จะมีโอกาสลดการสูบบุหรี่หลังจากการเพิ่มภาษีบุหรี่เพิ่มขึ้น ในส่วนของระดับชั้นการศึกษา สถานภาพของบิดามารดา มีความสัมพันธ์เชิงลบ นั่นคือ นิสิตที่มีระดับชั้นการศึกษาสูงขึ้น และสถานภาพของบิดามารดาหย่าร้างหรือแยกกันอยู่ จะมีโอกาสลดการสูบบุหรี่หลังจากการเพิ่มภาษีบุหรี่ลดลง
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ภาษีบุหรี่ ,การสูบบุหรี่,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
Abstract |
The objectives of study were to study towards cigarette smoking behavior of youth from the cigarette tax increases in 2017 and to study the factors affecting the decline of youth smoking from the cigarette tax increases. The sample group used in the study was undergraduate students of Kasetsart University, Bangkhen Campus, and collected data by using 400 sets of questionnaires. Data were analyzed by using descriptive statistics such as frequency, percentage, and Binary Logistics Regression. The results revealed that the factors affecting the decline of youths smoking from the cigarette tax increases were statistically significant which consisted of the characteristics of accommodation, cigarette brands, smoking frequency, changes in cigarette brands, or types after cigarette tax increases. There was a positive correlation between the attitude towards the increases in cigarette prices and the reduction of smoking expenses. In other words, students who do not live with their parents will be smoking imported brands occasionally. If students change the cigarette type or brand after the cigarette tax increase and have an attitude towards the increase in cigarette prices in terms of reducing smoking costs, there will be the opportunity to decline smoking after the cigarette tax increases. In terms of education level, the status of parents has a negative correlation. In other words, students with higher education level and the status of their parents are divorced or separated, students will have the opportunity to reduce smoking after the cigarette tax increases have been declined.
|
Keyword |
Cigarette tax,Smoking,Kasetsart University |
กลุ่มของบทความ |
บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|