บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิตผลิตภัณฑ์ “ธ.ก.ส. ทวีรัก 99”
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Analysis of policy holder discontinued life Insurance policy “BAAC Taweeluk 99” and the proposed solution
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นายอวยชัย ตระกูลมุทุตา ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
     การประกันชีวิต เป็นการสร้างหลักประกันให้กับตนเองและครอบครัว โดยปัจจุบันธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีลักษณะคล้ายประกันชีวิต ได้แก่ผลิตภัณฑ์ “ธ.ก.ส. ทวีรัก 99” อย่างไรก็ตาม
ผลิตภัณฑ์นี้มีอัตราการต่ออายุกรมธรรม์ต่ำกว่าเป้าหมายที่ธนาคารกำหนดไว้ การค้นคว้าเรื่อง การวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหาลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิตผลิตภัณฑ์ “ธ.ก.ส. ทวีรัก 99” จึงมีวัตถุประสงค์
เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและแนวทางแก้ไขปัญหากรณีลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์ฯ โดยใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Analysis) จากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งก็คือลูกค้าที่ฝากกรมธรรม์เงินฝากสงเคราะห์ชีวิต
ผลิตภัณฑ์ “ธ.ก.ส. ทวีรัก 99” จำนวน 420 ราย โดยใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด (7Ps) เป็นแนวทางการสร้างแบบสอบถาม และใช้แนวคิดการให้บริการและแนวคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภคมาสัมภาษณ์เชิงลึกต่อหัวหน้า
การเงินประจำสาขาจำนวน 18 ราย โดยใช้เครื่องมือสถิติ เรื่อง การแจกแจงความถี่(Frequency) และหาค่าร้อยละ (Percentage) ในการวิเคราะห์ข้อมูล และมีการนำข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการค้นคว้าตามแหล่งต่าง ๆ มาใช้ประกอบข้อมูล
ที่ได้จากแบบสอบถาม 
           ผลการศึกษาพบว่าสาเหตุที่ทำให้ลูกค้าไม่ต่อสัญญากรมธรรม์ฯ 3 อันดับแรก คือ จดจำวันและจำนวนเงินที่ต้องชำระไม่ได้ มีผลิตภัณฑ์ลักษณะใกล้เคียงกันเข้ามาทดแทน และผลตอบแทนที่ได้รับไม่ตรงกับความเข้าใจ โดยคิดเป็นร้อยละ
38, 29 และ 17 ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสาเหตุหลักของการไม่ต่อสัญญากรมธรรม์ เกิดจากตัวลูกค้าไม่ได้รับข่าวสารแจ้งเตือนจากทางธนาคาร กอปรกับตัวลูกค้าจดจำวันและจำนวนเงินที่ต้องชำระไม่ได้ ทำให้ไม่ได้มาชำระเงินในวันที่
ครบกำหนดการต่อสัญญา และมีผลให้กรมธรรม์ขาดผลบังคับไปในที่สุด แนวทางการแก้ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นการปรับปรุงข้อมูลลูกค้าให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเพื่อให้ลูกค้าได้รับข่าวสารแจ้งเตือนจากธนาคาร และการจัดอบรมให้ความรู้แก่
พนักงานประจำสาขาซึ่งเป็นผู้อธิบายเงื่อนไขกรมธรรม์ให้ลูกค้า
 คำสำคัญภาษาไทย ประกันชีวิต,ส่วนประสมทางการตลาด (7Ps),การบริการ,พฤติกรรมผู้บริโภค,การต่ออายุสัญญากรมธรรม์
 Abstract
          Life insurance is a safeguard for policy holder and family member in absence of the principle or primary member of family. Presently, Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives (BAAC) has
launched deposit product, its characteristic contains the highest similarity to Insurance, called “BAAC Taweeluk 99”. Nevertheless, the rate of renew insurance policy is far below the expected target.
Therefore, the objective of the study was to analyze the cause of policy holder discontinued life insurance policy and also propose the solution to overcome. Primary data were collected using a structured
questionnaire by emphasizing on quantitative analysis method. The sample size was 420 policy holders. The theories for forming questionnaire consisted of ‘Marketing Mix (7Ps), Service Concepts and
Consumer Behaviors. Another technique was qualitative data collection by conducting in-depth interview of 18 Financial Head of particular branch. The measurement of in-depth interview is based on statistic
approach such as frequency and percentage. In addition, secondary data were extracted from relevant sources to supplement the data obtained from the survey.
           The result of this study reveals the highest three leading causes of discontinued life insurance policy which came from: 1) ‘No Reminding Payment Date and Amount accounted for 38% ;
2) Switching to Substitute Product accounted for 29% ; and 3) Misunderstanding of Agreed Return accounted for 17% The solution mentioned above could improve client’s information more accurate
and up to date in order to continuously receive BAAC information or news. Additionally, regular training to the branch officers would solve the issue as well since they are the frontline officers.
 Keyword Insurance,Marketing Mix (7Ps),Service,Consumer Behavior,Renew
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563