บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างหนี้ครัวเรือนไทยกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) A CAUSALITY RELATIONSHIP BETWEEN THAI HOUSEHOLD DEBT WITH GDP
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวธัญชนิต อุบลศรี ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้ศึกษาความสัมพันธ์และทิศทางความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างหนี้ครัวเรือนไทยกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิรายไตรมาส ตั้งแต่ไตรมาสหนึ่งปีพ.ศ.2550 ถึงไตรมาสสองปีพ.ศ.2562 ของสินเชื่อคงค้างของการซื้อที่อยู่อาศัย สินเชื่อคงค้างของการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และสินเชื่อคงค้างของการบริโภคส่วนบุคคลอื่น ๆ ซึ่งจัดทำโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ซึ่งจัดทำโดยสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วิธีการศึกษาใช้การทดสอบความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว และ ทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผลโดยใช้วิธี Granger Causality ผลการศึกษา พบว่า สินเชื่อคงค้างของการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคลทั้ง 3 ประเภทกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ มีความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว และการทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุผล พบว่า สินเชื่อคงค้างของการซื้อที่อยู่อาศัยเป็นตัวกำหนดผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอย่างมีนัยสำคัญ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นตัวกำหนดสินเชื่อคงค้างของการบริโภคส่วนบุคคลอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ และสินเชื่อคงค้างของการซื้อหรือเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเป็นตัวกำหนดซึ่งกันและกันอย่างมีนัยสำคัญ
 คำสำคัญภาษาไทย หนี้ครัวเรือน, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ, ความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพในระยะยาว, ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
 Abstract
This research aims to study the relationship and direction of the relationship in the causality of Thai Household Debt and Gross Domestic Product (GDP). The quarterly secondary data had been used since the first quarter in 2007 to the second quarter in 2019. The data are the outstanding loan for housing purchases, outstanding loans for the purchase or hire purchase of cars and motorcycles, and outstanding loans for other personal consumption which made from Bank of Thailand, and GDP was made from Office of the National Economic and Social Development Council (NESDC). Cointegration Tests and Granger causality test are research methodology. The results indicate that the outstanding personal loans and GDP had a long-run relationship in Cointegration tests. In Granger Causality Test, the outstanding loan for housing purchases are significantly determine GDP, GDP are significantly determining the outstanding loans for other personal consumption, and the outstanding loans for the purchase or hire purchase of cars and motorcycles and GDP are significantly determine each other.
 Keyword Household Debt, GDP, Long-run relationship, Causality
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563