บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาสื่อการสอนแอนิเมชันแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมกับรูปแบบการสอนโครงงานเป็นฐาน วิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่ามะกา |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Development of Animation Interactive Instruction with Project-based Learning for Grade 6 Student of Banthamaka School |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางสาวขนิษฐา สังข์ทอง , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการสอนแอนิเมชันแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมกับรูปแบบการสอนโครงงานเป็นฐาน วิชา คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านท่ามะกา 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของสื่อการสอนที่พัฒนาขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยสื่อการสอนแอนิเมชันแบบปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาขึ้น 4) เพื่อหาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการสอนแอนิเมชันแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมกับรูปแบบการสอนโครงงานเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 32 คน โรงเรียนบ้านท่ามะกา การเลือกกลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ได้เลือกด้วยวิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อการสอนแอนิเมชันแบบปฏิสัมพันธ์ร่วมกับรูปแบบการสอนโครงงานเป็นฐาน วิชา คอมพิวเตอร์ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และ T-test Dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการสอนที่พัฒนาขึ้นอยู่ในเกณฑ์ดี 2) ประสิทธิภาพของสื่อการสอน มีค่าเท่ากับ 83.43/80.20 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน ( =24.06 , S.D.=2.25) สูงกว่าก่อนเรียน ( =13.03 , S.D.=1.55) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อสื่อการสอนอยู่ในระดับดี
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
คำสำคัญ: สื่อการสอนแอนิเมชัน ปฏิสัมพันธ์ โครงงานเป็นฐาน วิชาคอมพิวเตอร์ |
Abstract |
Abstract
The purposes of this research study were: 1) to development of animation interactive instruction with project-based learning for grade 6 student of banthamaka school. 2) to determine the efficieantly of instruction developed. 3) to compare student achievement before and after learning of the students studying media animation interactive instruction. 4) to the satisfaction of students with the instruction and project-based learning. The sample used students at 32 in the grade 6/1 was selected by simple random method. The instrument used for this research 1) Animation interactive instruction with project-based learning for grade 6 student. 2) Achievement test. 3) Satisfaction statistics used in this study were mean, standard deviation, percent t-test dependent.
The results showed that: 1) Animation interactive instruction with project-based learning was efficieantly 83.43/80.20 which higher than 80/80 2). Achievement posttest ( =24.06, S.D.=2.25) higher than previous ( =13.03, S.D.=1.55) that significant at the statistical level .05 3) Satisfaction of learners with animation interactive instruction at a good level.
|
Keyword |
Keywords: Teaching Animation, Interaction, Project-based Learning, Computer. |
กลุ่มของบทความ |
คอมพิวเตอร์ศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|