บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคคลตามการรับรู้ของครู ในเครือข่ายโรงเรียนที่ 25 สังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) A Study of Conditions and Problems of the Personnel Management According to Teachers Perceptions of the 25 School Network under BuengKum District Bangkok
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวลัดดา ทวีภูมิ ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการบริหารงานบุคลากรตามการรับรู้ของครู ในเครือข่ายโรงเรียนที่ 25 สังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในเครือข่ายโรงเรียนที่ 25 สังกัดสำนักงานเขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร จำนวน 136 คน เครื่องมือเป็นแบบสอบถามที่มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86 ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารงานบุคคลตามการรับรู้ของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การรับรู้สภาพการบริหารงานบุคคลของครูจำแนกตามเพศ ตำแหน่งทางวิชาการและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและด้านการออกจากราชการ แตกต่างกัน 3) ผลการศึกษาปัญหาการบริหารงานบุคคลตามการรับรู้ของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับน้อย 4) ผลการเปรียบเทียบจำแนกตามเพศ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งทางวิชาการ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน แตกต่างกัน
 คำสำคัญภาษาไทย สภาพและปัญหา, การบริหารงานบุคคล
 Abstract
Abstract . This survey study aimed to examine and compare the conditions and problems of the personnel management according to teachers perceptions of the 25 school network under Bueng Kum district office Bangkok. The sample of 136 Teachers in the 25 school network, The instrument was a questionnaire.The quertionnaire war tested foe the reliability with Cronbach’s alpha coefficient of .86 The findings revealed 1) The result of the study of the personnel administration according to the perception of teachers in overall is at a high level. 2) The perception of the state of personnel administration of teachers by gender Academic positions and work experience in general and in all aspects were not different. Except in the aspect of enhancing the efficiency of work and leaving the government differently. 3) The results of the problems of personnel administration as perceived by teachers in general were at a low level. 4) Comparative results classified by gender Work experience And academic positions.
 Keyword Conditions and Problems , Personnel Management
 กลุ่มของบทความ บริหารการศึกษา
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563