บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Servant Leadership and Development Guidelines for Principals under Surin Provincial Office of the Non - Formal and Informal Education |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นางนลินี จันทร์เปล่ง , อ.ดร.โกวิท วัชรินทรางกูร, อ.ดร.ศรีเพ็ญ พลเดช, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดสุรินทร์ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 191 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.990 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู เกี่ยวกับภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามประสบการณ์การทำงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารควรสังเกตพฤติกรรมการตอบสนองของบุคลากรเมื่อต้องประสบสถานการณ์ใหม่ ๆ ยกย่องความสำเร็จที่เกิดจากการตัดสินใจในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดความมั่นใจในตนเองมากยิ่งขึ้น รับฟังความคิดเห็นทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ตลอดจนเรียนรู้ความผิดพลาดที่เกิดจากการทำงาน ตระหนักถึงจุดอ่อนที่มีอยู่ในระบบการทำงานและนำมาใช้ในการพัฒนาวิธีการทำงานที่เหมาะสมยิ่งขึ้น
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ภาวะผู้นำใฝ่บริการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสุรินทร์ |
Abstract |
This research aimed to study the servant leadership and development guidelines of principals under Surin provincial Office of the non-formal and informal education. The samples in this research were 191 teachers selected by simple random sampling. The instrument was a questionnaire which its reliability was 0.990. The statistics used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, independent t-test, and analysis of variance (ANOVA). The semi-structured interviews were used to collect opinions’ from 5 purposive selected experts. The data obtained was analyzed using content analysis. The research findings showed 1) the servant leadership of principals were at high level 2) the teachers’ perceptions of the servant leadership of principals classified by work experiences were not statistically significant different 3) the principal development guidelines for servant leadership are followings the principal should observe the teaching staffs’ responses to new circumstances, give performance appraisals feedback to teaching staffs to enhance their confidence, listen to both positive and negative opinions, as well as learn from mistakes, aware of the weaknesses in the operational system then develop new appropriate approaches.
|
Keyword |
Servant leadership, Principal, Surin Provincial Office of the Non-formal and Informal Education |
กลุ่มของบทความ |
บริหารการศึกษา |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|