บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
ผลของปุ๋ยชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของถั่วคาวาลเคด |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Effects of Various Fertilizers on Growth and Biomass Yield of Centrosema pascuorum cv. Cavalcade |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
ผศ.ดร.กรรณิกา อัมพุช , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
ถั่วคาวาลเคด เป็นถั่วอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดหนึ่งที่กรมปศุสัตว์ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสำหรับทำแห้งเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ในช่วงฤดูแล้ง งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปุ๋ยชนิดต่างๆ ต่อการเจริญเติบโตของถั่วคาวาลเคด โดยใช้แผนการทดลองแบบสุ่มตลอด แบ่งเป็นสามกลุ่มการทดลอง กลุ่มละสามซ้ำ คือ กลุ่มที่ 1 ปลูกถั่วคาวาลเคดโดยใช้ดินสำเร็จรูปและไม่มีการใส่ปุ๋ย กลุ่มที่ 2 ปลูกถั่วคาวาลเคดโดยใช้ดินผสมปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน และกลุ่มที่ 3 การปลูกถั่วคาวาลเคดโดยใช้ดินผสมปุ๋ยเคมี โดยเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตด้านความสูง ความกว้างใบ จำนวนใบ และผลผลิตของถั่วนาน 12 สัปดาห์ ผลการศึกษาพบว่า การเจริญเติบโตด้านความสูง และความกว้างของใบของถั่วทั้งสามกลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ในขณะที่การปลูกโดยใช้ปุ๋ยมูลไส้เดือนส่งผลให้ถั่วมีจำนวนใบต่อต้นมากกว่ากลุ่มอื่นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 1 ถึง 11 (P<0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลองที่ 12 สัปดาห์พบว่า การใช้ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนผสมกับดิน ส่งผลให้ถั่วคาวาลเคดให้ผลผลิตทั้งต้นดีที่สุด (P<0.05) รองลงมาคือการใช้ปุ๋ยเคมีและการปลูกโดยใช้ดินเพียงอย่างเดียว คือ 21.15, 12.78 และ 10.35 กรัมต่อตารางเมตร ตามลำดับ
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน ถั่วคาวาลเคด การเจริญเติบโต |
Abstract |
Cavalade bean is one of an important forage legume that the Department of Livestock Development encourages farmers to grow for hay making used as animal feed during the dry season. The objective of this research was to study the effect of different fertilizers on growth and yield of Cavalcade. The experiment was divided into three treatments each three replications that were commercial soil, commercial soil mixed with vermicompost, and commercial soil with chemical fertilizer, respectively. Plant length, leaf width, leaf number and biomass yield were collected for 12 weeks. The results showed that plant length and leaf width of all three groups were not statistically different (P> 0.05), while using vermicompost resulted in higher leaf number than the others from week 1 to 11 (P<0.05). At the end of the experiment at 12 weeks, it was found that the use of earthworm fertilizer mixed with soil gave the best dry matter yield (P<0.05), followed by the use of chemical fertilizers and commercial soil at 21.15, 12.78 and 10.35 grams per square meter, respectively.
|
Keyword |
vermicompost, cavalcade, growth |
กลุ่มของบทความ |
ชีววิทยา เกษตร และอาหาร |
รูปแบบการนำเสนอ |
Poster |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|