บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย บทบาทของระบบเครดิตทางสังคม กรณีศึกษา ธนาคารความดีตำบลหนองสาหร่าย อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Roles of Social Credit System (SCS): A Case Study Of Nong Sarai’s Social Banking, Phanom Thuan District, Kanchanaburi
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) นางสาวอาทิตย์ วันนารี ,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของระบบเครดิตทางสังคม โดยมุ่งเน้นศึกษาถึงประโยชน์ ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงปัจจัยคัญที่จะทำให้ระบบดังกล่าวประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงกรณีศึกษา ผ่านกรณีศึกษาธนาคารความดีตำบลหนองสาหร่าย โดยการเก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมสัมภาษณ์จำนวน 20 คน รวมถึงข้อมูลจากเอกสาร ซึ่งผลการวิจัยนี้พบว่าประโยชน์ของระบบเครดิตทางสังคม คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย ลดความเลื่อมล้ำทางสังคม สนับสนุนการทำดี สร้างสังคมดีและมีระเบียบ  ส่วนปัญหาและอุปสรรคของระบบดั่งกล่าว คือ ระบบเครดิตทางสังคมเป็ระบบนแนวคิดใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จัก สังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศที่ยังไม่ทันสมัย การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ความปลอดภัยของข้อมูลและกฎหมายที่ยังไม่เอื้ออำนวย นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังได้ค้นพบว่าหากมีการนำระบบเครดิตทางสังคมมาใช้จริงในประเทศไทยปัจจัยหลักที่จำเป็นต้องเร่งพัฒนาเพื่อทำให้ระบบดังกล่าวได้รับการยอมรับ คือ พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย ยกระดับการศึกษาและทำความเข้าใจของคนในสังคม แก้ไขกฎหมายและบทลงโทษเพื่อเอื้อต่อการดำเนินการของระบบ  รัฐต้องมีบทบาทให้มากขึ้นทั้งในส่วนของนโยบาย กลยุทธ์ และปฏิบัติการ รวมถึงจำเป็นต้องมีการร่วมมือกันจากทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันแก้ปัญหา
 คำสำคัญภาษาไทย ระบบเครดิตทางสังคม ธนาคารความดี ประเทศไทย กรณีศึกษา
 Abstract
This study aims to investigate and attempt to understand the roles and significance of Social Credit System (SCS). The study puts emphasis on identifying benefits, issues and key success factors associated with the systems.  The study adopted a qualitative case study approach involving one case study, Nong Sarai’s Social Banking. Data were collected through interviews and documentary analysis. In total, 20 interviews were conducted. The findings show that, on the benefits’ side, SCS helps people to get an access to capital investment, reduce income gap, support good deeds while building good society with order. Th findings also show that issues associated with the implementation of SCS include; it is a new concept and may not be well accepted, social and culture difference, less advanced information technology, privacy concerns, security, and unsupportive laws and regulations. The study further indicates that if the system were to be successfully implemented in Thailand, attentions need to be placed on factors such as improving information technology and education, while adjusting law and regulation. More importantly, government needs to play a crucial role in devising policy, strategy and operation. It is also imperative to build a collaborative culture where people work closely together to solve problems.        
 Keyword Social Credit System, Social Banking, Thailand, Case study
 กลุ่มของบทความ บริหารธุรกิจและเศรษฐศาสตร์
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563