บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
แนวทางการอนุรักษ์ผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Conservation guidelines for hand-woven fabrics of U Thong, Ban Wang Thong Chorakhe Sam Phan Sub-district, U Thong District, Suphan Buri Province |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นายกลวัชร อัตเนตร์ , นางสาวกุสุมา สุริยวงศ์, นางสาวจุฑามาศ ศรีเอี่ยมจันทร์, นายรักชาติ รูปสม, นางสาวมณีรัตน์ วิรุณพันธ์, นางสาวสุนิสา แย้มคล้าย, |
บทคัดย่อภาษาไทย |
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัย เรื่อง “แนวทางการอนุรักษ์ผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี” โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 3 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาของผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 2. เพื่อหาแนวทางอนุรักษ์ผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค์ที่มีต่อการอนุรักษ์ผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทอง ตำบลจรเข้สามพัน อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรีโดยจากผลการศึกษาและการสัมภาษณ์สามารถนำมาอภิปรายตามวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมด 5 แนวทางแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทอง 5.1.1 การเสริมสร้างปราชญ์ชาวบ้านให้เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.1.2 การสืบสานสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทองไปสู่คนรุ่นต่อไป 5.1.3 การปลุกจิตสำนึกของคนในชุมชนให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่น 5.1.4 การส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นก่อให้เกิดอาชีพ และรายได้ของชาวชุมชน 5.1.5 การจัดการความรู้และการศึกษาวิจัยเพื่อการพัฒนาให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผ้าทอมืออู่ทองบ้านวังทองดำรงอยู่ การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยศึกษาและเก็บรวบรวมจากกลุ่มผ้าทอมืออู่ทองและจากเอกสาร ได้แก่ หนังสือ วารสาร งานวิจัย และเอกสารสำคัญในท้องถิ่น รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึก (in – depth interview) และการสอบถามกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ที่ศึกษา
ผลวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนบ้านวังทองที่มีประวัติความเป็นมาอายุกว่า200 ปี ชาวชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ลูกหลานชาวชุมชน หน่วยงานของภาครัฐที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนการอนุรักษ์ผ้าทอมือชุมชนบ้านวังทองในเรื่องลวดลายดั้งเดิมและลายประยุกต์ เนื่องจากผ้าทอมือชุมชนบ้านวังทอง เกิดจากการสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นจากบรรพบุรุษจากนางทองคำ เพ็ญจู เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ ซึ่งเป็นผู้สร้าง เป็นผู้คิดค้น เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาความเป็นอยู่ของคนในชุมชนมีอาชีพ ก่อให้เกิดรายได้จากการผลิตผ้าทอมือชุมชนบ้านวังทอง และสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเหตุการณ์และยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสังคมในแต่ละยุคสมัยเป็นส่วนทำให้วิถีชีวิตของการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม วิถีชีวิตของชุมชนย่อมเกิดมาจากการจัดการทรัพยากรของคนท้องถิ่น ด้วยความรู้ของคนในท้องถิ่นนั้นๆเอง สรุปได้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นเป็นสิ่งสำคัญและควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพราะการพัฒนาทางเลือกนั้นเกิดขึ้นจากความต้องการของชุมชนเองมาจัดการแก้ไขโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงเป็นการพัฒนาที่ตรงจุดและทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ โดยการอนุรักษ์นี้ไม่เพียงแต่อาศัยความร่วมมือของคนในท้องถิ่น เช่น ปราชญ์ชาวบ้านและที่สำคัญคือผู้สืบสาน หรือผู้สืบทอด โดยการอนุรักษ์ในระดับท้องถิ่นนี้อาจอาศัยการปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ หรือส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ นิทรรศการ ศึกษาจากพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นบ้านวังทองเป็นแหล่งการเรียนรู้ เพื่อให้คนในท้องถิ่นเกิดความภาคภูมิใจความหวงแหนภูมิปัญญา และความกระตือรือร้นในการให้ความสำคัญและอนุรักษ์ผ้าทอมือบ้านวังทอง มากไปกว่าการอนุรักษ์ในระดับท้องถิ่นแล้ว การส่งเสริม และสนับสนุนการอนุรักษ์ โดยส่งเสริมให้กลายเป็นสินค้าOTOPซึ่งทำให้ได้เป็นสินค้าที่รู้จักมากยิ่งขึ้น การปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น รวมทั้งสนับสนุนให้มีพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นหรือพิพิธภัณฑ์ชุมชนขึ้น เพื่อแสดงสภาพชีวิตและความเป็นมาของชุมชน อันจะสร้างความรู้และความภูมิใจในชุมชนท้องถิ่นด้วย
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
ผ้าทอมือ , ผ้าทอมืออู่ทอง , บ้านวังทอง |
Abstract |
Abstract
The research of hand-woven fabric. The purpose of this study were : 1)to examine knowledge of hand-woven fabric 2)to find the conservation guidelines 3)to examine the problems and obstacles affecting conservation of hand-woven fabric. From studies and interviews can be discussed according to objectives in 5 ways. The guidelines for preserving local knowledge of hand-woven fabric 5.1.1)enhancing the wisdom of villagers to be leaders in the conservation of local knowledge 5.1.2)inheritance of local knowledge to the next generation 5.1.3)raising awareness in the community to see the value of local knowledge 5.1.4)promoting activities for preserving local knowledge, creating a career and income for the community 5.1.5)knowledge management and research for the development of local knowledge to continuity of hand-woven fabric. Collection of data was done by studying and collecting from the group hand-woven fabric and documents such as books, journals, researches and important local documents including in-depth interviews and asking the villagers in the study area. The findings indicated that local wisdom of Ban Wang Thong community, with a history of over 200 years, community sages, villagers, children of community, government agencies that help promote the conservation of hand-woven fabric in Ban Wang Thong an the originals pattern and applied patterns. Because the hand-woven fabric caused by the inheritance of local knowledge from ancestor from Mrs. Thongkham Penju is the transfer of knowledge. The creator invented to fix the problem and develop the well-being of people in the community with careers create income from production and able to adapt to changing events and times. The way of life of community arises from the management of local resources with the knowledge of the local people.
In conclusion, wisdom the locality is an important and worthy conservation. Because the develop of alternatives arose from the needs of the community itself manage solutions using local wisdom. So, it is a straight-forward development that will ultimately lead to sustainable development. However, local wisdom is worth conservation. This conservation does not only rely on the cooperation of the local people such as sages, villagers and important people, is the successor. By preserving the local level, it may be possible to raise awareness for the young generation or to promote and organize cultural and cultural activities. Study from the Ban Wang Thong Museum is a source of learning. To make people proud, cherish and enthusiasm for importance and conservation hand-woven fabrics of Ban Wang Thong more than conservation at the local level, promoting and supporting conservation. By promoting it to be an OTOP product. Which makes it a more well-known. Raising awareness in the local area about the value, essence and importance of local knowledge, creating a conscience mind of local people that must be conserved together local wisdom that is unique to the area. Including supporting to have local museums or community museums to show life conditions and the history of the community. Which will create knowledge and pride in the local community as well.
|
Keyword |
Hand-woven fabrics, U-Thong hand-woven fabrics, Ban Wang Thong |
กลุ่มของบทความ |
ปรัชญา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|