บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
การพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
The Curriculum Development to Enhance the 21st Century Learning Skills for the Teacher Students of Phetchabun Rajabhat University |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
ผศ.ดร.สมใจ กงเติม , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาครู 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร 3) เพื่อทดลองใช้หลักสูตร 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร ดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประชากรได้แก่ นักศึกษา 320 คน กลุ่มตัวอย่าง 175 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม 2) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรโดยใช้แบบประเมินความเหมาะสมและสอดคล้อง 3) การทดลองใช้หลักสูตรและ 4) การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาครูที่มีต่อหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย 100 คน ผลวิจัยพบว่า 1 ) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานด้านทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 พบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก 2) ผลการสร้างและตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร พบว่ามี 8 องค์ประกอบได้แก่ 1) ความเป็นมาและความสำคัญของหลักสูตร 2) หลักการของหลักสูตร**3) จุดมุ่งหมายของหลักสูตร 4)*เนื้อหาสาระของหลักสูตร 5) กิจกรรมการฝึกอบรม 6))ระยะเวลา 7) สื่ออุปกรณ์การฝึกอบรม 8) การวัดและการประเมินผล*และตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากและมีความสอดคล้อง 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่านักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเรื่องทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยหลังการทดลองใช้หลักสูตรสูงกว่าก่อนการใช้หลักสูตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่หลักสูตรกำหนด 4) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้หลักสูตรในภาพรวม อยู่ในระดับมาก
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
การพัฒนาหลักสูตร, ทักษะการเรียนรู้ ,ในศตวรรษที่ 21 |
Abstract |
The current study aimed to 1) discover the basic information about the teacher students’ 21st century learning skills management, 2) create and verify the quality of a curriculum, 3) try out the created curriculum, and 4) evaluate the teacher students’ satisfaction towards the curriculum. The research methodology was carried out in four stages. Firstly, the basic information about the teacher students’ 21st century learning skills management was surveyed by a questionnaire with 175 samples of 320 populations. Secondly, the quality of the created curriculum was verified by a form of suitability and consistency. Thirdly, the curriculum was tried out. Fourthly, the satisfaction towards the curriculum was surveyed with 100 samples. The findings showed 1) the overall level of the teacher students’ perception of the basic information about the 21st century learning skills was high; 2) the quality of the curriculum consisted of eight elements: 1) background and importance, 2) principles, 3) aims, 4) contents, 5) activities, 6) duration, 7) teaching aids, and 8) measurement and evaluation; meanwhile, the suitability and consistency of the curriculum was high; 3) the teacher students’ post-perception of the basic information about the 21st century learning skills was significantly different at the statistical level of .05 and the results of the 21st century learning skills assessment had passed the assessment criteria as specified by the curriculum; ; 4) the overall level of the teacher students’ satisfaction towards the curriculum was high.
|
Keyword |
curriculum development, learning skills ,21st century |
กลุ่มของบทความ |
หลักสูตรและการสอน |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|