บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม)
ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม


แสดงบทคัดย่อ
 ชื่อบทความภาษาไทย การพัฒนากากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียจากโรงไฟฟ้าเป็นวัสดุปลูก
 ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) Development of Coal-fired Power Plant Sludge for Growing medium
 ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) อ.ดร.สิรินารี เงินเจริญ , อ.ธวัชชัย นาอุดม,
 บทคัดย่อภาษาไทย
งานวิจัยนี้ดำเนินการเพื่อหาวิธีพัฒนาวัสดุปลูกจากกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียของโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหิน ดำเนินการ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การพัฒนาคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุปลูก 2) การพัฒนาคุณสมบัติทางเคมีของวัสดุปลูก และ 3) การทดสอบปลูกพืชในวัสดุปลูก
เริ่มต้นจากขั้นตอนการพัฒนาคุณสมบัติทางกายภาพด้วยวัสดุในท้องถิ่น 4 ชนิด คือ แกลบ ขี้เลื่อย ชานอ้อยและใยมะพร้าว นำมาผสมกับกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียด้วยอัตราส่วนต่างๆ จากนั้นวิเคราะห์ผลของค่าการดูดซับน้ำ ความหนาแน่นรวม พบว่า แกลบและขี้เลื่อยเป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการปรับคุณสมบัติกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสีย ทั้งนี้อัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุด คือ กากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสีย (SL) : ขี้เลื่อย (SD) : แกลบ (RH) เท่ากับ 5:1:1 ผลวิเคราะห์การดูดซับน้ำและค่าความหนาแน่น เท่ากับ 43.2 ± 0.01 % และ 0.353 ± 0.07 g/cm3 ตามลำดับ
เมื่อนำผลของอัตราส่วนวัสดุข้างต้นไปพัฒนาคุณสมบัติทางเคมีด้วยวิธีการอย่างง่าย 2 วิธี ได้แก่ การผสมกับกากถั่วเหลืองและการเพาะถั่วเขียวเป็นพืชปุ๋ยสดในวัสดุปลูก พบว่าวิธีการปลูกพืชปุ๋ยสดทำให้ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนสูง วัสดุปลูกที่ปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีทั้ง 2 วิธี ไม่พบไนเตรต-ไนโตรเจน แต่พบค่าของฟอสฟอรัสสูง อย่างไรก็ตามการปรับปรุงวัสดุปลูกด้วยวิธีการปลูกพืชปุ๋ยสดให้ค่าโพแทสเซียมสูงมากกว่าวิธีการผสมกับกากถั่วเหลืองอย่างชัดเจน
สำหรับขั้นตอนการทดสอบปลูกพืช 2 ชนิด ได้แก่ พริกและมะเขือเทศในวัสดุปลูกที่ปรับปรุงคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและเคมีแล้ว พบว่าวัสดุปลูกที่พัฒนาจากกากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสียโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินให้จำนวนใบและความสูงมากกว่าการปลูกในดินร่วนอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05)
สรุปได้ว่าเมื่อนำ SL:SD:RH อัตราส่วนเท่ากับ 5:1:1 มาปรับปรุงคุณสมบัติด้วยวิธีปลูกพืชปุ๋ยสด สามารถใช้เป็นวัสดุปลูกได้
 คำสำคัญภาษาไทย วัสดุปลูก,กากตะกอนระบบบำบัดน้ำเสีย,การใช้ประโยชน์,โรงไฟฟ้า
 Abstract
This research was conducted to formulate plant growing medium from activated sludge of a coal-fired power plant wastewater treatment system. Experimental procedure was divided to 3 steps;   1) the physical properties development, 2) chemical development and 3) planting test.
            Initiated with the physical properties, 4 local materials as rice husk, sawdust, bagasse and coconut fiber were selected to reform sludge properties. Mixed the mentioned materials with sludge as various ratio. Depending on water absorption and bulk density, it was indicated the rice husk and sawdust were mostly appropriated to adjust sludge properties. Additionally, ratio of sludge (SL): sawdust (SD): rice husk (RH) was analyzed also found the ratio of SL:SD:RH equaled 5:1:1 was practically suited for physical properties due to the water absorption and bulk density values which equaled 43.2±0.01% and 0.353±0.07 g/cm3 respectively.
            Subsequently, the improvement of chemical properties of growing medium was proceeded, 2 easily methods as mixing and mung bean composting with sludge were compared. Results were represented that, sludge composted with mung bean had highly values of Available-N as NH4+-N. On the contrary, the properties of growing medium improved by both methods, it was not detected NO3_N but similarly found the Available-P and organic matter. However, the Available-K level detected from sludge composted by mung bean was more than sludge admixed dominantly.
            For plant testing experiment, the result was revealed the plant could alive in growing medium well indicated from the quantity of leaf and stalk height of bird chili and tomato planted in growing medium were higher than planted in loamy soil significantly (P<0.05).
            Eventually, it was summarized SL:SD:RH equaled 5:1:1 composted sludge with mung bean might be more appropriated to use as growing medium.
 Keyword Growing medium,Sludge,Utilization, Power plants
 กลุ่มของบทความ ชีววิทยา เกษตร และอาหาร
 รูปแบบการนำเสนอ Oral
 รูปแบบของบทความ บทความวิจัย
Publication date 9 - 10 กรกฎาคม 2563