บทความงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 12 (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม) ระหว่างวันที่ 9 – 10 กรกฎาคม 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
ชื่อบทความภาษาไทย |
รูปแบบการบริหารเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยใช้มวลรวมหยาบจากคอนกรีตที่นำกลับมาใช้ใหม่ในประเทศไทย |
ชื่อบทความภาษาอังกฤษ (Title) |
Circular Economy Management Model for Recycle concrete in Thailand |
ชื่อผู้เขียนบทความ (Authors) |
นายวิวัฒน์ กิตตินาราพร , |
บทคัดย่อภาษาไทย |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เหมาะสมในการบริหารโครงการก่อสร้างของอาคารที่ก่อสร้างโดยใช้มวลรวมหยาบจากคอนกรีตที่นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycled Concrete Aggregates หรือ RCA) ในประเทศไทย ทฤษฎีการบริหารที่นำมาใช้ในการพัฒนารูปแบบประกอบด้วย ทฤษฎีการบริหาร POLCC ของฟาโยล์ PDCA ของเดมมิ่ง และ PMBOK ของ PMI ถูกนำมาสังเคราะห์ได้เป็นกรอบแนวคิดรูปแบบการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ คือ CE-CR (POEDCR) ประกอบด้วยการวางแผน (Plan) การจัดองค์กร (Organizing) การดำเนินการ (Execution) การอำนวยการ (Direction) การคบบคุม (Control) และการทบทวน (Review) ส่วนมวลรวมหยาบจากคอนกรีตที่จะนำกลับมาใช้ใหม่ ใช้หลักทฤษฎีของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คือ Make (สร้าง) > Use (ใช้) > Return (นำกลับมาใช้ใหม่) โดยที่รูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนมี 5 รูปแบบดังนี้ การออกแบบ (Circular Design) การเลือกใช้วัสดุ (Circular Supplies) การบริการ (Product as a Service) การแบ่งปัน (Sharing Platform) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Resource Recovery) ถูกนำมาใช้ในการผลิตมวลรวมหยาบจากคอนกรีตที่นำกลับมาใช้ใหม่ จากนั้นสร้างแบบสัมภาษณ์แบบกลุ่มย่อย นำไปสัมภาษณ์ระดมความคิดเห็น กับกลุ่มผู้จัดการโครงการ และ/หรือผู้จัดการฝ่ายผลิต และกลุ่มวิศวกรฝ่ายปฏิบัติงาน จากผลการระดมความคิดเห็นแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเห็นด้วยกับแนวคิดของเศรษฐกิจหมุนเวียน ถ้าคุ้มค่ากับการนำมวลรวมหยาบจากคอนกรีตกลับมาใช้ใหม่ ลดต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการสร้างคุณค่าที่ดีขึ้นและสร้างความยั่งยืนให้กับสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม รวมถึงธุรกิจอีกด้วย
|
|
คำสำคัญภาษาไทย |
เศรษฐกิจหมุนเวียน; การบริหาร; คอนกรีตที่นำกลับมาใช้ใหม่ |
Abstract |
The objective of this research is to study the suitable model for managing the construction project of a building using coarse aggregate from recycled concrete (RCA) in Thailand. The selected management theory in the development of forms consisting of Fayo' s (POLCC) management theory of Deming (PDCA) and PMBOK of PMI is integrated into a new management model, CE-CR (POEDCR), which consists of planning, organization (Organizing) operations (Execution, Direction, Control and Review of coarse aggregate from recycled concrete. Use the theory of a circular economy which is Make> Use> Return. There are 5 forms of circular economy driving as follows: Circular design, selection Use Circular Supplies, Product as a Service, Sharing Platform and Resource Recovery are used to produce rough aggregates from recycled concrete. The results of the brainstorming show clearly that they agree with the concept of a circular economy. If it is worthwhile to reuse coarse aggregates from concrete, reduce costs and protect the environment.
|
Keyword |
Circular Economy, Management, Recycle Concrete Aggregate |
กลุ่มของบทความ |
วิทยาศาสตร์กายภาพ |
รูปแบบการนำเสนอ |
Oral |
รูปแบบของบทความ |
บทความวิจัย |
Publication date |
9 - 10 กรกฎาคม 2563 |
|